หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน



ขมิ้นชัน (อังกฤษ: Turmeric) เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

การปลูกเลี้ยง
ขมิ้นชันชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง วิธีปลูกใช้เหง้าหรือหัวอายุ10-12เดือนทำพันธุ์ ถ้าเป็นเหง้าควรยาวประมาณ8-12ซม.หรือมีตา6-7ตา ปลูกลงแปลง กลบดินหนาประมาณ5-10ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ30-70วันหลังปลูก ควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้
ฤดูกาลปลูก : ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
ฤดูการเก็บเกี่ยว : จะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท

รสและสรรพคุณยา
เหง้าของขมิ้นชันมีรสฝาด กลิ่นหอม สามารถเก็บมาใช้เมื่อมีช่วงอายุ 9-10 เดือน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชันมีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง อาจช่วยรักษาโรค รูมาตอยด์ได้ ยังไม่ยืนยันแน่ชัด ในตำรายาจีนเรียกเจียวหวง (ภาษาจีนกลาง) หรือ เกียอึ้ง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยา แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน

เหง้าขมิ้นชันมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่าเคอร์คูมิน สารสกัดด้วยเอทานอลจากเหง้าสดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ[4] ขมิ้นชันสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชันมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นชันไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง

อาหารที่ใช้ขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบได้แก่แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกอและ แกงฮังเล ข้าวแขก ข้าวหมกไก่ ขนมเบื้องญวน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของผงกะหรี่ ขมิ้นชันใช้ย้อมผ้าให้ได้สีเหลือง ถ้าใส่ใบหรือผลมะขามป้อมลงไปด้วยจะได้สีเขียว นอกจากนั้น ในการทำปูนแดง จะนำปูนขาวมาผสมกับขมิ้นชัน ในสมัยก่อนนิยมเอาผงขมิ้นชันทาตัวให้ผิวเหลือง รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้ทาศีรษะหลังโกนผม เพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการใช้มีดโกนโกนผม

วิธีใช้ประโยชน์
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการแสบคัน แก้หิว และแก้กระหาย ทำโดยล้างขมิ้นชันให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้

วิธีกินขมิ้นชัน
มีการศึกษาพบว่า การรับประทานขมิ้นตามเวลาที่อวัยวะต่าง ๆกำลังทำงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นให้มากขึ้น โดยวิธีกินขมิ้นชันควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ตามการรักษา
เวลา 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาของปอด หากรับประทานช่วงเวลานี้จะช่วยในการบำรุงปอดช่วยให้ปอดแข็งแรง ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง และช่วยเรื่องภูมิแพ้หายใจไม่สะดวก
เวลา 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลาหรือรับประทานยาถ่ายมานาน หากรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ให้บีบรัดตัวเพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ขับถ่ายน้อยหรือมากจนเกินไป และช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย หากรับประทานพร้อมกับโยเกิร์ต น้ำผึ้ง นมสด มะนาวหรือน้ำอุ่น จะช่วยชะล้างผนังลำไส้ให้สะอาดได้
เวลา 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง และยังช่วยแก้อาการปวดเข่า, ขาตึง, บำรุงสมองป้องกันโรคความจำเสื่อมได้อีกด้วย จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และยังลดอาการท้องอืด จุกแน่น, ปวดเข่า, ขาตึง, ช่วยบำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อมได้
เวลา 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลบริเวณปาก บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคเกาต์ การอ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป
เวลา 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรง
เวลา 15.00-17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้อาการตกขาว และการทำให้เหงื่อออกในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้ร่างกายขับสารพิษออกไปจากร่างกายได้มาก
เวลา 17.00 น. จนถึงเวลาเข้านอน การรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น เมื่อตื่นนอนจะไม่อ่อนเพลีย การขับถ่ายก็จะดีขึ้นด้วย

สรรพคุณของขมิ้น
ขมิ้นสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายนอก
1 ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ช่วยรักษาโรค ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้น
2 ด้วยการนำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำแล้วทาลงบนบาดแผล ช่วยสมานแผลตามร่างกายให้หายเร็วยิ่งขึ้น และยังช่วยให้บาดแผลไม่ติดเชื้อของกระต่ายและหนูขาวได้ และสามารถเร่งให้แผลที่ติดเชื่อหายได้
3 ขมิ้นยังมีสรรพคุณช่วยในการป้องกันการงอกของขนอีกด้วย โดยผู้หญิงชาวอินเดียมักนำขมิ้นมาทาผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก
4 ขมิ้นชันขัดผิว ใช้ทำทรีทเม้นท์พอกผิวขัดผิวด้วยขมิ้นช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง ด้วยการนำขมิ้นสดมาล้างน้ำให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปปั่นรวมกับดินสอพอง 2-3 เม็ด แล้วผสมกับมะนาว 1 ลูก ปั่นจนเข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าหรือผิวทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
5 ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียดคั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
6 มีฤทธิ์ในการต่อต้านและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และต่อต้านยีสต์ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ

ขมิ้นสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายใน
1 โดยนำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนแล้วนำมารับประทานครั้งละ 3 เม็ด 3 เวลา ช่วยรักษาอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง
2 ด้วยการนำขมิ้นสดมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำปูนใสแล้วรับประทาน ช่วยแก้อาการตกเลือด


1 สรรพคุณของขมิ้นข้อแรกคือมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
2 ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
3 ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
4 ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเล็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
5 ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
6 ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
7 ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
8 มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
9 ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
10 ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
11 ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ
12 ช่วยบำรุงสมองป้องกันโรคความจำเสื่อม
13 ช่วยลดการอักเสบ
14 ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
15 ช่วยรักษาอาการแพ้และไข้หวัด
16 ช่วยบรรเทาอาการไอ
17 ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้หายใจไม่สะดวก ให้มีอาการดีขึ้น
18 ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
19 ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี
20 ช่วยรักษาแผลที่ปาก
21 ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
22 น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
23 ขมิ้นชันสรรพคุณช่วยแก้อาการจุดเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
24 ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
25 ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
26 ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม
27 ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
28 ช่วยในการขับลม
29 ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี
30 มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี
31 ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้
32 ช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล
33 ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
34 ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
35 ช่วยแก้อาการตกขาว
36 ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
37 ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
38 ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย
39 ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
40 ช่วยต่อต้านปรสิต หรือเชื้ออะมีบาที่เป็นต้นเหตุของโรคบิดได้
41 ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย แบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง เป็นต้น
42 มีฤทธิ์ในการต่อต้านการกลายพันธุ์ และต้านสารก่อมะเร็งทีมีความเกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย และโรคเบาหวาน
43 ขมิ้นเป็นส่วนประกอบของทรีทเม้นท์รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน

ผลข้างเคียงของขมิ้นชัน
ขมิ้นชันผลข้างเคียงการรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร หากรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริงแต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าวควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อว่าขมิ้นชัน โทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่าการรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แต่อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง

อย่างไรก็ตามก็คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำด้วยการค่อย ๆปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้

การรับประทานอย่างพอประมาณและเหมาะสม ทานอาหารครบ 5 หมู่ งดพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค คือสิ่งที่ถูกต้อง บางสิ่งบางอย่างถึงแม้มันจะมีประโยชน์มากก็จริงแต่ถ้ามันมากเกินไปมันก็จะเป็นโทษกับตัวเราได้ จึงไม่ควรหลงละโมภ และทานอย่างไร้สติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น