หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง



ทองพันชั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinacanthus nasutus Kurz) หรือทองคันชั่ง หรือหญ้ามันไก่ มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5-2 เมตร กิ่งอ่อนและลำต้นมักเป็นเหลี่ยม ส่วนที่ยังอ่อนมักมีขนปกคลุมใบรูปคล้ายรูปไข่หรือวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามซอกกิ่งยาวประมาณ 10 ซม. แต่ละดอกมีสีขาว ผลใหญ่ประมาณ 1 ซม. ผลเป็นผลแห้งแตกได้ มักมีขน การขยายพันธุ์ใช้ปักชำ ตัดกิ่งแก่ที่มีตาติดอยู่ 2-3 ข้อปลิดใบทิ้งแล้วนำไปปักชำในดินที่ชุ่มชื้นให้กิ่งเอียงเล็กน้อยขึ้นได้ในดินทั่วไป สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง (ชนิดกลาก เกลื้อน) ทาแก้กลากเกลื้อน การที่ทองพันชั่ง สามารถรักษากลากเกลื้อนได้ เพราะน้ำยาที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลากเกลื้อนได้ ส่วนที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ใบสด และรากสด

ขนาดและวิธีใช้
ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง ริดสีดวงทวารหนัก แก้ไอเป็นเลือด ฆ่าพยาธิ นำใบหรือรากประมาณ 1 กำมือ ต้มรับประทาน เช้าเย็นทุกวัน
รักษากลาก เกลื้อน ใช้ใบ หรือรากตำให้ละเอียด แช่เหล้าโรงพอท่วมไว้ 7 วัน ใช้น้ำยาทาบริเวณที่เป็น วันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
แก้โรคปัสสาวะบ่อย เอา ต้น ใบ ดอก ก้าน ราก ล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง ต้มให้เดือด ใช้ดื่ม

ข้อควรระวัง
ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคหืด โรคความดันโลหิตต่ำ โรคมะเร็งในเม็ดเลือด ไม่ควรรับประทาน

รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
ใบ รสเบื่อเมา ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไอเป็นเลือด ฆ่าพยาธิกลากเกลื้อน แก้มะเร็ง
ราก รสเมาเบื่อ ต้มรับประทานแก้พิษไข้ แก้โรคมะเร็ง เรื้อน วัณโรค โรคผิวหนัง แก้ผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา

ทองพันชั่งสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายนอก
1 ช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน ผดผื่นคันเรื้อรัง ซึ่งในปัจจุบันมีการนำทองพันชั่งไปผลิตเป็น โทนเนอร์ทองพันชั่ง เพื่อความสะดวกในการหาซื้อและการนำมาใช้งาน (ใบ,ราก,ทั้งต้น) สำหรับวิธีการใช้ก็มีหลากหลายสูตร คือ
- ใช้ใบสด 5-8 ใบ นำมาตำให้ละเอียดเติมเหล้าโรงผสมเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน (ใบสด)
- ใช้ใบสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดิบ หรือแอลกอฮอล์ 75% แล้วนำมาบริเวณที่เป็น วันละ 1 ครั้งประมาณ 3 วันจนกว่าจะหายขาด (ใบสด)
- ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาป่นแช่กับเหล้าไว้นาน 1 สัปดาห์ แล้วกรองเอาแต่น้ำยาที่แช่มาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย (รากสด)
- ใช้รากทองพันชั่ง นำมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาว และน้ำมะขาม แล้วนำมาชโลมทาบริเวณที่เป็น (ราก)
- ใช้รากทองพันชั่งประมาณ 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟ 1/2 กล่อง นำมาตำจนเข้ากันให้ละเอียด แล้วผสมน้ำมันใส่ผมหรือจะผสมกับวาสลีนเพื่อไม่ให้ยาแห้ง แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนังเป็นประจำ (ราก)

ทองพันชั่งสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายใน
1 ช่วยรักษาโรควัณโรคปอดในระยะเริ่มแรก ด้วยการใช้ก้านและใบสดประมาณ 30 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม) นำมาผสมกับน้ำตาลกรวดต้มเป็นน้ำดื่ม (ก้าน,ใบ)
2 ใบรสเบื่อเมาช่วยดับพิษไข้ หรือจะใช้รากนำมาต้มรับประทานแก้พิษไข้ก็ได้ (ใบ,ราก)
3 ช่วยแก้ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ช่วยรักษาโรคนิ่ว ด้วยการใช้ทองพันชั่งทั้งต้น ดอก ใบ ก้าน และราก นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตากแดดให้แห้ง ต้มเป็นน้ำดื่ม (ทั้งต้น)
4 ทองพันชั่งรักษามะเร็ง ช่วยยับยั้งมะเร็ง มะเร็งในกระเพาะ มะเร็งในคอ มะเร็งในปาก มะเร็งในปอด มะเร็งภายในและภายนอก ต้นทองพันชั่งมีสารสำคัญคือ “สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์” (Naphthoquinone Ester) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีการออกฤทธิ์ในการช่วงยับยั้งมะเร็งเยื่อบุช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก ด้วยการใช้ทั้งต้นสดประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำพอท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ (ใบ,ราก,ทั้งต้น)
5 มีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ใช้ต้นทองพันชั่งนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยทำให้อาการของโรคดีขึ้น ช่วยทำให้น้ำเหลืองดีขึ้น เม็ดตุ่มตามตัวน้อยลง ทานข้าวได้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลอ้างอิงและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ (ต้น)

สรรพคุณของทองพันชั่ง
1 ทองพันชั่ง สมุนไพรที่ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก,ต้น)
2 ช่วยแก้โรค 108 ประการ (ต้น)
3 ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ)
4 ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ใบ)
5 ช่วยทำให้ระบบกระเพาะอาหารทำงานได้ดีมากขึ้น (ใบ)
6 ช่วยแก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม (ทั้งต้น)
7 ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)
8 ช่วยแก้โรคมุตกิดระดูขาวของสตรี (ใบ)
9 ใช้รักษาโรคตับอักเสบ (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
10 ช่วยฆ่าพยาธิ (ใบ)
11 ช่วยขับพยาธิตามผิวหนัง ช่วยแก้พยาธิวงแหวนตามผิวหนัง ตามบาดแผล (ใบ,ราก,ทั้งต้น)
12 ช่วยแก้อาการปวดฝี (ใบ)
13 สรรพคุณทองพันชั่ง ช่วยแก้พิษงู (ใบ,ราก)
14 ช่วยถอนพิษ (ใบ)
15 ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
16 ทองพันชั่ง สรรพคุณช่วยรักษาคุดทะราด (ทั้งต้น)
17 ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก,ทั้งต้น)
18 ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)
19 ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกตามชายโครง คอเคล็ด มือเคล็ด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
20 ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
21 ช่วยต้านยีสต์ โดยสาร Rhinacanthin C, D และ N จากใบทองพันชั่งสามารถช่วยยับยั้งเชื้อ Candida albicans ได้ (ใบ)
22 ช่วยรักษาโรคผมร่วง (ต้น)
23 ช่วยแก้อาการผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา (ราก)

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน



ขมิ้นชัน (อังกฤษ: Turmeric) เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

การปลูกเลี้ยง
ขมิ้นชันชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง วิธีปลูกใช้เหง้าหรือหัวอายุ10-12เดือนทำพันธุ์ ถ้าเป็นเหง้าควรยาวประมาณ8-12ซม.หรือมีตา6-7ตา ปลูกลงแปลง กลบดินหนาประมาณ5-10ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ30-70วันหลังปลูก ควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้
ฤดูกาลปลูก : ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
ฤดูการเก็บเกี่ยว : จะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท

รสและสรรพคุณยา
เหง้าของขมิ้นชันมีรสฝาด กลิ่นหอม สามารถเก็บมาใช้เมื่อมีช่วงอายุ 9-10 เดือน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชันมีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง อาจช่วยรักษาโรค รูมาตอยด์ได้ ยังไม่ยืนยันแน่ชัด ในตำรายาจีนเรียกเจียวหวง (ภาษาจีนกลาง) หรือ เกียอึ้ง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยา แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน

เหง้าขมิ้นชันมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่าเคอร์คูมิน สารสกัดด้วยเอทานอลจากเหง้าสดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ[4] ขมิ้นชันสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชันมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นชันไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง

อาหารที่ใช้ขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบได้แก่แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกอและ แกงฮังเล ข้าวแขก ข้าวหมกไก่ ขนมเบื้องญวน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของผงกะหรี่ ขมิ้นชันใช้ย้อมผ้าให้ได้สีเหลือง ถ้าใส่ใบหรือผลมะขามป้อมลงไปด้วยจะได้สีเขียว นอกจากนั้น ในการทำปูนแดง จะนำปูนขาวมาผสมกับขมิ้นชัน ในสมัยก่อนนิยมเอาผงขมิ้นชันทาตัวให้ผิวเหลือง รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้ทาศีรษะหลังโกนผม เพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการใช้มีดโกนโกนผม

วิธีใช้ประโยชน์
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการแสบคัน แก้หิว และแก้กระหาย ทำโดยล้างขมิ้นชันให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้

วิธีกินขมิ้นชัน
มีการศึกษาพบว่า การรับประทานขมิ้นตามเวลาที่อวัยวะต่าง ๆกำลังทำงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นให้มากขึ้น โดยวิธีกินขมิ้นชันควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ตามการรักษา
เวลา 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาของปอด หากรับประทานช่วงเวลานี้จะช่วยในการบำรุงปอดช่วยให้ปอดแข็งแรง ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง และช่วยเรื่องภูมิแพ้หายใจไม่สะดวก
เวลา 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลาหรือรับประทานยาถ่ายมานาน หากรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ให้บีบรัดตัวเพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ขับถ่ายน้อยหรือมากจนเกินไป และช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย หากรับประทานพร้อมกับโยเกิร์ต น้ำผึ้ง นมสด มะนาวหรือน้ำอุ่น จะช่วยชะล้างผนังลำไส้ให้สะอาดได้
เวลา 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง และยังช่วยแก้อาการปวดเข่า, ขาตึง, บำรุงสมองป้องกันโรคความจำเสื่อมได้อีกด้วย จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และยังลดอาการท้องอืด จุกแน่น, ปวดเข่า, ขาตึง, ช่วยบำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อมได้
เวลา 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลบริเวณปาก บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคเกาต์ การอ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป
เวลา 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรง
เวลา 15.00-17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้อาการตกขาว และการทำให้เหงื่อออกในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้ร่างกายขับสารพิษออกไปจากร่างกายได้มาก
เวลา 17.00 น. จนถึงเวลาเข้านอน การรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น เมื่อตื่นนอนจะไม่อ่อนเพลีย การขับถ่ายก็จะดีขึ้นด้วย

สรรพคุณของขมิ้น
ขมิ้นสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายนอก
1 ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ช่วยรักษาโรค ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้น
2 ด้วยการนำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำแล้วทาลงบนบาดแผล ช่วยสมานแผลตามร่างกายให้หายเร็วยิ่งขึ้น และยังช่วยให้บาดแผลไม่ติดเชื้อของกระต่ายและหนูขาวได้ และสามารถเร่งให้แผลที่ติดเชื่อหายได้
3 ขมิ้นยังมีสรรพคุณช่วยในการป้องกันการงอกของขนอีกด้วย โดยผู้หญิงชาวอินเดียมักนำขมิ้นมาทาผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก
4 ขมิ้นชันขัดผิว ใช้ทำทรีทเม้นท์พอกผิวขัดผิวด้วยขมิ้นช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง ด้วยการนำขมิ้นสดมาล้างน้ำให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปปั่นรวมกับดินสอพอง 2-3 เม็ด แล้วผสมกับมะนาว 1 ลูก ปั่นจนเข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าหรือผิวทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
5 ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียดคั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
6 มีฤทธิ์ในการต่อต้านและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และต่อต้านยีสต์ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ

ขมิ้นสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายใน
1 โดยนำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนแล้วนำมารับประทานครั้งละ 3 เม็ด 3 เวลา ช่วยรักษาอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง
2 ด้วยการนำขมิ้นสดมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำปูนใสแล้วรับประทาน ช่วยแก้อาการตกเลือด


1 สรรพคุณของขมิ้นข้อแรกคือมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
2 ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
3 ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
4 ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเล็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
5 ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
6 ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
7 ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
8 มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
9 ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
10 ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
11 ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ
12 ช่วยบำรุงสมองป้องกันโรคความจำเสื่อม
13 ช่วยลดการอักเสบ
14 ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
15 ช่วยรักษาอาการแพ้และไข้หวัด
16 ช่วยบรรเทาอาการไอ
17 ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้หายใจไม่สะดวก ให้มีอาการดีขึ้น
18 ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
19 ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี
20 ช่วยรักษาแผลที่ปาก
21 ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
22 น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
23 ขมิ้นชันสรรพคุณช่วยแก้อาการจุดเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
24 ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
25 ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
26 ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม
27 ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
28 ช่วยในการขับลม
29 ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี
30 มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี
31 ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้
32 ช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล
33 ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
34 ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
35 ช่วยแก้อาการตกขาว
36 ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
37 ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
38 ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย
39 ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
40 ช่วยต่อต้านปรสิต หรือเชื้ออะมีบาที่เป็นต้นเหตุของโรคบิดได้
41 ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย แบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง เป็นต้น
42 มีฤทธิ์ในการต่อต้านการกลายพันธุ์ และต้านสารก่อมะเร็งทีมีความเกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย และโรคเบาหวาน
43 ขมิ้นเป็นส่วนประกอบของทรีทเม้นท์รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน

ผลข้างเคียงของขมิ้นชัน
ขมิ้นชันผลข้างเคียงการรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร หากรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริงแต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าวควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อว่าขมิ้นชัน โทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่าการรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แต่อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง

อย่างไรก็ตามก็คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำด้วยการค่อย ๆปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้

การรับประทานอย่างพอประมาณและเหมาะสม ทานอาหารครบ 5 หมู่ งดพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค คือสิ่งที่ถูกต้อง บางสิ่งบางอย่างถึงแม้มันจะมีประโยชน์มากก็จริงแต่ถ้ามันมากเกินไปมันก็จะเป็นโทษกับตัวเราได้ จึงไม่ควรหลงละโมภ และทานอย่างไร้สติ

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ยางน่องเถา

ยางน่องเถา




ยางน่องเถา หรือยางน่องเครือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Strophanthus caudatus) เป็นไม้พุ่มเลื้อย ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามกัน แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่โคน สีขาว กางดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกแผ่แยกเป็น 5 กลีบ

ชื่อพื้นเมืองอื่น : เครืองน่อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่ฮ่องสอน) ตะเกาะแบเวาะ (มลายู ภาคใต้) น่อง (ภาคกลาง นครราชสีมา) บานบุรีป่า (ภาคใต้) ยางน่องเครือ (อุบลราชธานี) ยางน่องเถา (จันทบุรี ปราจีนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ยางน่องเถา เป็นไม้พุ่มเลื้อย ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามกัน แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่โคน สีขาว กางดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกแผ่แยกเป็น 5 กลีบ ปลายกลีบเป็นแถบแคบยาว สีแดงเข้ม ผลเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ยาว 10-30 เซนติเมตร เมล็ดสีน้ำตาลมีกระจุกขนสีขาว

การกระจายพันธุ์
ในธรรมชาติสามารถค้นพบต้นยางน่องเถาได้ตามบริเวณขอบป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือแถบจังหวัดนครพนม อุบลราชธานี นครราชสีมา ภาคตะวันออกและภาคใต้

ประโยชน์และโทษ
ประโยชน์ของยางน่องเถานั้นมีประโยชน์ในการทาลูกหน้าไม้ล่าสัตว์ซึ่งชาวบ้านใช้ยางจากยางน่องเถา ผสมกับยาพิษชนิดอื่น มีความเป็นพิษเช่นเดียวกับบานทน[3] แต่ก่อนรับประทานเนื้อสัตว์ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียวออกจนหมด จึงจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้นได้[4] ยางน่องเถามีคาร์ดิแอก ไกลโคไซด์จึงทำให้เป็นพิษต่อหัวใจ

ยางน่อง เป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักมักคุ้นของคนทั่วไป มีทั้งอย่างชนิดยืนต้นและอย่างเถา ยางน่องต้น มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Antiaris toxicaria Lesch. อยู่ในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มาก อาจสูงได้ถึง 70 เมตร ลำต้นจะเป็นพูพอน แผ่ออกพื้นดินเพื่อยึดลำต้น เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีขาวหรือขาวอมเทา เปลือกชั้นในสีขาวหรือขาวอมเหลือง
ถ้าถากเปลือกดูจะมีน้ำยางสีขาวหรือขาวอมเหลืองซึมตามรอยถาก พิษของยางน่องจะอยู่ที่ยาง ยางจะมีสารไกลโคไซด์ (glycoside) ที่เป็นพิษต่อหัวใจ ชื่อแอนดิเอริน (antiarin) มีรสขมและมีฤทธิ์กัด มีผลต่อระบบประสาท และหัวใจทำให้หัวใจเต้นช้าลง หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และหัวใจวายตาย
หมอโบราณทางภาคเหนือ กล่าวว่ายางที่ได้จากต้นยางน่องเป็นพิษ ใช้ชุบปลายลูกหน้าไม้ยิงสัตว์ใหญ่ได้ แต่ก่อนจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้น ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียวอันเกิดจากพิษยางน่องให้หมดเสียก่อนจึงจะรับประทานได้

แม้ยางต้นน่องจะเป็นพิษแต่เนื้อไม้ที่มีสีขาว เป็นไม้ที่เสี้ยนตรง เนื้ออ่อน สามารถที่จะนำไปทำเป็นหีบใส่ของ รองเท้าไม้ เครื่องเล่นต่างๆได้ และสามารถใช้เมล็ดต้นยางน่องเป็นยาแก้ไข้ ส่วนเปลือกต้นยางน่อง ให้ใยละเอียดสีขาว ใช้ทำเชือก เยื่อกระดาษ ทุบทำเป็นที่นอน ผ้าห่มและเสื้อกางเกงของพวกชาวป่า เช่น แม้ว มูเซอ และเงาะ เป็นต้น ต้นยางน่องจึงเป็นต้นไม้ที่น่าอนุรักษ์ต้นหนึ่ง แม้เราจะไม่ใช้ยางน่องในการชุบหน้าไม้ยิงสัตว์อีกต่อไปแล้ว แต่ส่วนอื่นของต้นยางน่องก็มีคุณค่าน่าศึกษา

ยางน่องอีกต้นเป็นชนิดเครือ ชื่อยางน่องเครือ ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Strophanthus scandens Roem & Schult อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางสีขาว ตามกิ่งอ่อนมีสีแดงเข้ม ส่วนที่เป็นพิษ คือ ยางจากต้น และเมล็ดมีสารไกลโคไซด์ (glycoside) ที่เป็นพิษต่อหัวใจ ชื่อ สโตรแฟนตินจี (Stophantin G), คอมบิคาซิต โคลีน (kombicacid choline), ไตรโกเนลลีน (trigonelline) ซึ่งทำให้หัวใจเต้นช้าลง เต้นไม่เป็นจังหวะและหัวใจวายตาย เช่นเดียวกับยางน่องต้น

ประสบการณ์ของหมอยาอิสานจะนิยมใช้ยางน่องเครือ พรานจะรู้ดีว่ายางน่องเครือต้นไหนมีพิษรุนแรง ต้นไหนมีพิษอ่อน ต้นที่มีพิษแรงจัดยอดจะออกเป็นสีแดงเข้มกว่า ยางจะออกเป็นสีขาวออกแดงเรื่อๆ วิธีการทำยางน่องเพื่อใช้ชุบลูกดอกเวลายิงสัตว์ เขาจะใช้กาบ(เปลือก) ยางน่องเครือใส่น้ำเคี่ยวให้เข้าๆกันจนเหนียวติดมือ เก็บใส่กระบอกไม้ไผ่ไว้ใช้

พรานบางคนต้องให้พิษยางน่องแรงขึ้น จะเพิ่มต้นยาสูบลงไปประมาณ 1 คืบ ถ้าไม่มีต้นเอาใบยาสูบที่แรงๆสักเล็กน้อย และเปลือกไม้ชนิดหนึ่งชื่อ ไม้ชีงวง ใช้หนึ่งคืบ สองอย่างนี้ไม่ต้องใช้มากเท่าเปลือกยางน่อง เป็นตัวเสริมฤทธิ์เท่านั้น และถ้ายางน่องในกระบอกที่เก็บไว้แห้งกรัง เขาจะเคี้ยวเปลือกไม้ชีงวงใส่แล้วเอายางน่องในกระบอกไปอุ่นไฟ ยางน่องในกระบอกจะมีพิษและใช้ได้เหมือนเดิม ถ้าหากเกิดพลาดพลั้ง เช่น ยิงถูกกันเอง หรือเผลอเอามือที่มีแผลไปสัมผัส ท่านให้รีบไปเคี้ยวผ้าดำ เคี้ยวๆแล้วกลืนน้ำลายกิน เพราะว่าผ้าดำจะเกิดจากการย้อมด้วยต้นครามและด่าง (ทำจากเผาไม้ในธรรมชาติ เช่น ด่างไม้ขี้เหล็ก) หรือให้กินปูนา จะกินปูนาดิบๆเพราะปิ้งไม่ทันหรือที่ปิ้งไว้แล้วก็ได้ หมอยาหลายท่านยืนยันว่าปูนาสามารถแก้พิษยางน่องได้ชะงัดจริง หากเป็นสมัยนี้ถ้าถูกพิษทั้งยางน่องต้นและยางน่องเครือเเข้าต้องวิ่งหา ผงถ่าน ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ยาป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ (propanold) กันให้วุ่นวายไปหมด

แม้ยางน่องจะมีพิษ ห้ามสัมผัสถูกแผลเพราะอาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเป็นพิษถึงตายได้ แต่ถ้าเป็นแผลถูก งูกัด ไม่ว่าจะเป็นงูชนิดใด รวมทั้งตะขาบ แมลงป่อง สามารถใช้ยางน่องทาแผลรอยกัดเหล่านั้นเพื่อรักษาพิษจากงูและสัตว์พิษเหล่านั้นได้ เป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่าใช้พิษแก้พิษ ภูมิปัญญาและประสบการณ์การใช้พรรณพืชของบ้านเรา หลายคนอาจมองเป็นเรื่องโม้หรือเรื่องเล่าไร้การทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่เรื่องเล่าและประสบการณ์เหล่านี้แหละที่เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนายาสมัยใหม่
แม้เราไม่สามารถพัฒนายาใหม่จากต้นยางน่องได้ อย่างน้อยเรื่องราวของยางน่องก็เป็นอุทาหรณ์บอกกับเราว่า ยางน่องแม้จะเป็นพิษแต่ก็แก้พิษได้

ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_tox...asp?info_id=86

ถ้าโดนพิษจากยางน่องเครือให้ใช้เถาย่านางแดงหรือรากรางจืดฝนกับมะนาวกินและทา

แอลคาลอยด์ (Alkaloid)

แอลคาลอยด์ (อังกฤษ: alkaloid) เป็นสารอินทรีย์กลุ่มที่มีธาตุไนโตรเจนอยู่ภายในโมเลกุล ในรูปของเอมีน (amine) เอมีนออกไซด์ (amine oxide) หรืออาจพบอยู่ในรูปของเอไมด์ (amide) และอีไมด์ (imide) ไนโตรเจนในแอลคาลอยด์ได้มาจากกรดอะมิโน โดยทั่วไปแอลคาลอยด์จะมีคุณสมบัติเป็นเบส แต่จะมากหรือน้อยขึ้นกับจานวนของไนโตรเจน บางชนิดเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อน มักมีฤทธิ์ทางยา ในธรรมชาติจะพบแอลคาลอยด์มากในพืชชั้นสูง ตามส่วนต่าง ๆ ของพืชเช่น ใบ ดอก ผล เมล็ด รากและเปลือก พบน้อยในพืชชั้นต่า สัตว์ และจุลินทรีย์

แบ่งแอลคาลอยด์ตามโครงสร้างทางเคมี ได้เป็น

แอลคาลอยด์ที่มีไนโตรเจนอยู่นอกวง (non-heterocyclic alkaloids)
แอลคาลอยด์ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนของวง (heterocyclic alkaloids) ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้เป็นกลุ่มไพโรล (pyrrole) ไพโรลิดีน (pyrrolidine) ไพริดีน (pyridine) พิเพอริดีน (piperidine) ไพโรโลซิดีน (pyrrolozidine) โทรเพน (tropane) ควิโนลีน (quinoline) ไอโซควิโนลีน (isoquinoline) อะพรอฟีน (aporphine) นอร์ลูพิเนน (nor-lupinane) อินโดล (indole) อิมิดาโซล (imidazole) พิวรีน (purine) และสเตอรอยด์ (steroid)

ผลึกของ piperine สกัดจาก พริกไทยดำ
หน้าที่ของแอลคาลอยด์ในพืชยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจเป็นแหล่ง สะสมไนโตรเจนเพื่อสร้างโปรตีน ควบคุมการเจริญเติบโต หรือการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด ช่วยป้องกันพืชจากแมลง หรืออาจเป็นสารที่ได้จากการทำลายพิษที่เกิดขึ้นในกระบวนการเมทาบอลิซึมของพืช แอลคาลอยด์ส่วนใหญ่มักมีรสขมและมีพิษ อย่างไรก็ตามมีพืชมากกว่า 80% ที่ไม่สร้างและไม่สะสมแอลคาลอยด์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าสารแอลคาลอยด์เป็นสารที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชทุกชนิด

แอนทราควิโนน (Anthraquinone)

สารแอนทราควิโนน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีกลิ่นหอมอยู่ในกลุ่มควิโนน (quinone) มีสูตรโมเลกุล C14H8O2 มีน้าหนักโมเลกุล 208.22 กรัม/โมลโครงสร้างของสารประกอบด้วยวงเบนซีน 3 วงทาพันธะต่อกัน (Royal society of Chemistry, 2014) ดังรูปที่ 1 แอนทราควิโนนเป็นสารที่นามาใช้ประโยชน์เป็นยาระบาย และใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง พบมากในพืชหลายสกุล รวมทั้งสกุลแคสเซีย (Cassia) ในการเปรียบเทียบปริมาณแอนทราควิโนนในพืชสกุลแคสเซีย 4 ชนิด ได้แก่ ขี้เหล็ก คูน ชุมเห็ดเทศ และทรงบาดาล ซึ่งเก็บจาก 4 ภูมิภาค ในช่วงฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ผลการวิจัยพบว่า ชนิดของแคสเซีย แหล่งที่ปลูก และฤดูกาล จะมีผลต่อปริมาณแอนทราควิโนน แคสเซียที่ให้ปริมาณแอนทราวิโนน สูงสุดคือชุมเห็ดเทศ ร้อยละ 1.33 รองลงมาคือ ใบคูน ร้อยละ 0.57 ฝักคูน ร้อยละ0.6 ขี้เหล็ก ร้อยละ 0.12 และทรงบาดาล ร้อยละ 0.04 ตามลาดับ (สมศักดิ์, 2542) นอกจากนี้ แอนทราควิโนนยังใช้เป็นวัสดุเริ่มต้นของสารย้อมสี และในอุตสาหกรรมกระดาษจะใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อเพิ่มผลผลิตของเยื่อกระดาษ อีกทั้งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเส้นใย (Greatvista Chemicals, 2012)

ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)

ไกลโคโปรตีน (อังกฤษ: Glycoprotein) เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีนที่หลั่งออกนอกเซลล์ และโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยเป็นโปรตีนที่เชื่อมต่อกับโอลิโกแซคคาไรด์ มีหน้าที่ที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต พบในโมเลกุลที่เป็นโครงสร้าง เช่น คอลลาเจน ไฟบริน โมเลกุลสำหรับขนส่งวิตามิน ไขมัน แร่ธาตุต่างๆ ตัวรับสัญญาณจากฮอร์โมน ส่วนที่จดจำระหว่างเซลล์ข้างเคียงหรือระหว่างไวรัสกับเซลล์เจ้าบ้าน โมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เอนไซม์บางชนิดเช่น โปรตีเอส (Protease) ไฮโดรเลส (Hydrolase) สารคัดหลั่งต่างๆ เช่น มูซิน (Mucin) เลกทิน (Lectin) หรือซีเลกทิน (Selectin) ซึ่งมีบทบาทในการจดจำเซลล์เป้าหมายของเชื้อก่อโรค

ไซยาไนด์ (Cyanide)

ไซยาไนด์ (อังกฤษ: cyanide) เป็นสารพิษชนิดหนึ่ง มีทั้งในรูปของแข็งและก๊าซ

ไซยาไนด์ (Cyanide) ที่คุ้นๆ กันดีมีอยู่ 2 รูปแบบ คืออย่างเป็นก๊าซ นั่นคือ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide) ซึ่งมีสูตรเคมีว่า HCN จะเรียกมันว่าก๊าซไซยาไนด์ (Cyanide gas) ก็ได้ และอย่างที่เป็นเกลือของไซยาไนด์ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายตัว แต่ขอพูดถึงแต่โพแทสเซียมไซยาไนด์ (Potassium Cyanide; สูตรเคมี KCN)

โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN) มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นผงที่ละลายน้ำได้ มีกลิ่นคล้าย ๆ อัลมอนด์ แต่ก็เป็นกลิ่นที่จางมากเลย การหย่อนเกลือไซยาไนด์ลงในกรดจะทำให้เกิดก๊าซไซยาไนด์ (HCN) พุ่งขึ้นมาทันที ก๊าซนี่กลิ่นเหมือนอัลมอนด์ แต่ก็กลิ่นจางมาก จางจนต้องอาศัยความเชี่ยวชาญซักหน่อยในการได้กลิ่นก๊าซไซยาไนด์ มีสถิติว่าประมาณ 20% ของผู้ใหญ่จะเป็นคนที่ไม่สามารถจับกลิ่นก๊าซไซยาไนด์ได้เลยเนื่องจากมันเป็นกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ก๊าซไซยาไนด์ก็เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ง่ายมาก และทำปฏิกิริยาได้รุนแรง ผลลัพธ์ของก๊าซไซยาไนด์จำนวนมากรั่วมาสู่อากาศ อาจจะระเบิดได้

อันตรายของไซยาไนด์
ไซยาไนด์สามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูดเอาก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ ถ้าเป็นการกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ก็จะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที ถ้ามีข้าวอยู่เต็มกระเพาะแล้ว ก็หน่วงเวลาตายอีกหน่อยเป็นชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ก็เหมือนการหย่อนมันลงในกรดนั่นแหละ มันก็จะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในตัวเรา ผลลัพธ์เลยออกมารวดเร็วกว่ากินขณะท้องว่างหลายเท่า แต่ถ้าเป็นการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไปอันนี้เร็วมาก นับเวลาตายถอยหลังเป็นวินาทีได้เลย

ความเข้มข้นของไซยาไนด์ก็มีผลกับความเร็วมาก ถ้าจับคนล็อกไว้ในห้องก๊าซขนาด 1x1x1 เมตร แล้วปล่อยก๊าซไซยาไนด์เข้าไปซัก 300 มิลลิกรัม เขาจะตายทันทีโดยไม่ทันร้องซักแอะ แต่ถ้าปล่อยก๊าซไซยาไนด์ 150 มิลลิกรัมเข้าไป เขาจะมีเวลาอีกประมาณ 30 นาทีไว้ทรมานก่อนตาย แล้วถ้าปล่อยก๊าซเข้าไปแค่ 20 มิลลิกรัม เขาจะยังไม่ตาย เพียงแต่จะมีอาการผิดปกติเล็กน้อยหลังจากนั้น

กลไกการออกฤทธิ์ของไซยาไนด์
อาหารที่เรากินเข้าไปนั้นร่างกายจะนำไปผ่านกระบวนการซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้กลายเป็นพลังงานเก็บไว้ใช้ เพราะร่างกายเราต้องการพลังงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่เวลาที่เรานั่งเฉย ๆ คิดเรื่อยเปื่อยร่างกายก็ยังใช้พลังงานไปกับการคิด การเก็บพลังงานนี้จะเป็นการเก็บไว้ในสารที่ใช้เก็บพลังงาน โดยเฉพาะซึ่งก็มีอยู่หลายชนิด ซึ่งร่างกายสร้างมา หนึ่งในกระบวนการสร้างสารเก็บพลังงานนี้คือกระบวนการที่เรียกว่า Electron Transfer System ( เรียกย่อว่า ETS) ซึ่งในสภาพปกติแล้วจะเป็นการส่งผ่านอิเล็กตรอนที่ได้จากอาหารให้กับตัวรับที่เรียกว่า cytochrome ระหว่างการส่งอิเล็คตรอนไปเรื่อยเป็นทอดๆ จะมีการปล่อยพลังงานออกมาให้ตัวเก็บพลังงานรับไป แล้วเราจะได้สารเก็บพลังงานมาหนึ่งตัว เมื่อมีไซยาไนด์ ไซยาไนด์จะไปเกาะที่ cytochrome ทำให้การส่งต่ออิเล็คตรอนชะงัก การสร้างสารเก็บพลังงานชะงักแล้วเราก็ตาย ไซยาไนด์ยังสามารถไปเกาะกับฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสารตัวที่ร่างกายใช้ขนส่งออกซิเจนไปตามที่ต่าง ๆ ทั่วร่างกายด้วย เมื่อมีไซยาไนด์มาเกาะหมับแทนที่ออกซิเจนแล้ว เซลล์ในร่างกายเราย่อมทุรนทุราย เพราะขาดออกซิเจนอันเป็นของจำเป็นต้องใช้ ในที่สุดก็ตายอีกเช่นกัน สภาพของคนที่ตายเพราะไซยาไนด์จึงมีลักษณะเหมือนคนขาดอากาศหายใจตาย ด้วยเหตุนี้ไซยาไนด์จึงสามารถทำให้คนตายได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อาการโดนพิษจากไซยาไนด์
ไม่รุนแรง
- กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก
- หายใจลำบาก
- ปวดหัว รู้สึกมึนๆ วิงเวียน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จาง ๆ
- รู้สึกระคายเคืองคัน ๆ ที่จมูก คอ ปาก

รุนแรง
- คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงกว่า
- หายใจลำบากขนาดต้องอ้าปากพะงาบ ๆ งับอากาศ
- ชักดิ้นชักงอ
- หมดสติ

ถ้าไปพบคนกำลังแย่เพราะไซยาไนด์อยู่ตรงหน้า ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเป็นการกินเข้าไปก็ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลล้างท้องเร็วที่สุด ถ้าเป็นก๊าซไซยาไนด์ ก็ต้องพาออกไปให้พ้นจากบริเวณที่มีก๊าซให้เร็วที่สุด ถ้าเสื้อผ้าหรือผิวหนังเปื้อนสารไซยาไนด์ก็ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ที่สำคัญคือคนช่วยต้องระวังตัวมาก ๆ อย่าสูดลมหายใจของผู้ป่วยเข้าไปเป็นอันขาด แล้วเรียกรถพยาบาลมาด้วย