หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง



ทองพันชั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinacanthus nasutus Kurz) หรือทองคันชั่ง หรือหญ้ามันไก่ มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5-2 เมตร กิ่งอ่อนและลำต้นมักเป็นเหลี่ยม ส่วนที่ยังอ่อนมักมีขนปกคลุมใบรูปคล้ายรูปไข่หรือวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามซอกกิ่งยาวประมาณ 10 ซม. แต่ละดอกมีสีขาว ผลใหญ่ประมาณ 1 ซม. ผลเป็นผลแห้งแตกได้ มักมีขน การขยายพันธุ์ใช้ปักชำ ตัดกิ่งแก่ที่มีตาติดอยู่ 2-3 ข้อปลิดใบทิ้งแล้วนำไปปักชำในดินที่ชุ่มชื้นให้กิ่งเอียงเล็กน้อยขึ้นได้ในดินทั่วไป สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง (ชนิดกลาก เกลื้อน) ทาแก้กลากเกลื้อน การที่ทองพันชั่ง สามารถรักษากลากเกลื้อนได้ เพราะน้ำยาที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลากเกลื้อนได้ ส่วนที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ใบสด และรากสด

ขนาดและวิธีใช้
ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง ริดสีดวงทวารหนัก แก้ไอเป็นเลือด ฆ่าพยาธิ นำใบหรือรากประมาณ 1 กำมือ ต้มรับประทาน เช้าเย็นทุกวัน
รักษากลาก เกลื้อน ใช้ใบ หรือรากตำให้ละเอียด แช่เหล้าโรงพอท่วมไว้ 7 วัน ใช้น้ำยาทาบริเวณที่เป็น วันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
แก้โรคปัสสาวะบ่อย เอา ต้น ใบ ดอก ก้าน ราก ล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง ต้มให้เดือด ใช้ดื่ม

ข้อควรระวัง
ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคหืด โรคความดันโลหิตต่ำ โรคมะเร็งในเม็ดเลือด ไม่ควรรับประทาน

รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
ใบ รสเบื่อเมา ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไอเป็นเลือด ฆ่าพยาธิกลากเกลื้อน แก้มะเร็ง
ราก รสเมาเบื่อ ต้มรับประทานแก้พิษไข้ แก้โรคมะเร็ง เรื้อน วัณโรค โรคผิวหนัง แก้ผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา

ทองพันชั่งสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายนอก
1 ช่วยรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน ผดผื่นคันเรื้อรัง ซึ่งในปัจจุบันมีการนำทองพันชั่งไปผลิตเป็น โทนเนอร์ทองพันชั่ง เพื่อความสะดวกในการหาซื้อและการนำมาใช้งาน (ใบ,ราก,ทั้งต้น) สำหรับวิธีการใช้ก็มีหลากหลายสูตร คือ
- ใช้ใบสด 5-8 ใบ นำมาตำให้ละเอียดเติมเหล้าโรงผสมเล็กน้อย แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน (ใบสด)
- ใช้ใบสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดิบ หรือแอลกอฮอล์ 75% แล้วนำมาบริเวณที่เป็น วันละ 1 ครั้งประมาณ 3 วันจนกว่าจะหายขาด (ใบสด)
- ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาป่นแช่กับเหล้าไว้นาน 1 สัปดาห์ แล้วกรองเอาแต่น้ำยาที่แช่มาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย (รากสด)
- ใช้รากทองพันชั่ง นำมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาว และน้ำมะขาม แล้วนำมาชโลมทาบริเวณที่เป็น (ราก)
- ใช้รากทองพันชั่งประมาณ 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟ 1/2 กล่อง นำมาตำจนเข้ากันให้ละเอียด แล้วผสมน้ำมันใส่ผมหรือจะผสมกับวาสลีนเพื่อไม่ให้ยาแห้ง แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนังเป็นประจำ (ราก)

ทองพันชั่งสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายใน
1 ช่วยรักษาโรควัณโรคปอดในระยะเริ่มแรก ด้วยการใช้ก้านและใบสดประมาณ 30 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม) นำมาผสมกับน้ำตาลกรวดต้มเป็นน้ำดื่ม (ก้าน,ใบ)
2 ใบรสเบื่อเมาช่วยดับพิษไข้ หรือจะใช้รากนำมาต้มรับประทานแก้พิษไข้ก็ได้ (ใบ,ราก)
3 ช่วยแก้ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ช่วยรักษาโรคนิ่ว ด้วยการใช้ทองพันชั่งทั้งต้น ดอก ใบ ก้าน และราก นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตากแดดให้แห้ง ต้มเป็นน้ำดื่ม (ทั้งต้น)
4 ทองพันชั่งรักษามะเร็ง ช่วยยับยั้งมะเร็ง มะเร็งในกระเพาะ มะเร็งในคอ มะเร็งในปาก มะเร็งในปอด มะเร็งภายในและภายนอก ต้นทองพันชั่งมีสารสำคัญคือ “สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์” (Naphthoquinone Ester) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีการออกฤทธิ์ในการช่วงยับยั้งมะเร็งเยื่อบุช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก ด้วยการใช้ทั้งต้นสดประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำพอท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ (ใบ,ราก,ทั้งต้น)
5 มีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ใช้ต้นทองพันชั่งนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยทำให้อาการของโรคดีขึ้น ช่วยทำให้น้ำเหลืองดีขึ้น เม็ดตุ่มตามตัวน้อยลง ทานข้าวได้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลอ้างอิงและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ (ต้น)

สรรพคุณของทองพันชั่ง
1 ทองพันชั่ง สมุนไพรที่ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก,ต้น)
2 ช่วยแก้โรค 108 ประการ (ต้น)
3 ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ)
4 ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด (ใบ)
5 ช่วยทำให้ระบบกระเพาะอาหารทำงานได้ดีมากขึ้น (ใบ)
6 ช่วยแก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม (ทั้งต้น)
7 ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)
8 ช่วยแก้โรคมุตกิดระดูขาวของสตรี (ใบ)
9 ใช้รักษาโรคตับอักเสบ (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
10 ช่วยฆ่าพยาธิ (ใบ)
11 ช่วยขับพยาธิตามผิวหนัง ช่วยแก้พยาธิวงแหวนตามผิวหนัง ตามบาดแผล (ใบ,ราก,ทั้งต้น)
12 ช่วยแก้อาการปวดฝี (ใบ)
13 สรรพคุณทองพันชั่ง ช่วยแก้พิษงู (ใบ,ราก)
14 ช่วยถอนพิษ (ใบ)
15 ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
16 ทองพันชั่ง สรรพคุณช่วยรักษาคุดทะราด (ทั้งต้น)
17 ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก,ทั้งต้น)
18 ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)
19 ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกตามชายโครง คอเคล็ด มือเคล็ด (ไม่มีการระบุส่วนที่ใช้)
20 ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส (สารแนพโทควิโนนเอสเทอร์)
21 ช่วยต้านยีสต์ โดยสาร Rhinacanthin C, D และ N จากใบทองพันชั่งสามารถช่วยยับยั้งเชื้อ Candida albicans ได้ (ใบ)
22 ช่วยรักษาโรคผมร่วง (ต้น)
23 ช่วยแก้อาการผมหงอกเนื่องจากเชื้อรา (ราก)

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน



ขมิ้นชัน (อังกฤษ: Turmeric) เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

การปลูกเลี้ยง
ขมิ้นชันชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง วิธีปลูกใช้เหง้าหรือหัวอายุ10-12เดือนทำพันธุ์ ถ้าเป็นเหง้าควรยาวประมาณ8-12ซม.หรือมีตา6-7ตา ปลูกลงแปลง กลบดินหนาประมาณ5-10ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ30-70วันหลังปลูก ควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้
ฤดูกาลปลูก : ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
ฤดูการเก็บเกี่ยว : จะเก็บเกี่ยวหัวขมิ้น ในช่วงฤดูหนาวหรือประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งช่วงนี้หัวขมิ้นชันจะแห้งสนิท

รสและสรรพคุณยา
เหง้าของขมิ้นชันมีรสฝาด กลิ่นหอม สามารถเก็บมาใช้เมื่อมีช่วงอายุ 9-10 เดือน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชันมีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง อาจช่วยรักษาโรค รูมาตอยด์ได้ ยังไม่ยืนยันแน่ชัด ในตำรายาจีนเรียกเจียวหวง (ภาษาจีนกลาง) หรือ เกียอึ้ง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยา แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน

เหง้าขมิ้นชันมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่าเคอร์คูมิน สารสกัดด้วยเอทานอลจากเหง้าสดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ[4] ขมิ้นชันสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชันมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นชันไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง

อาหารที่ใช้ขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบได้แก่แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกอและ แกงฮังเล ข้าวแขก ข้าวหมกไก่ ขนมเบื้องญวน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของผงกะหรี่ ขมิ้นชันใช้ย้อมผ้าให้ได้สีเหลือง ถ้าใส่ใบหรือผลมะขามป้อมลงไปด้วยจะได้สีเขียว นอกจากนั้น ในการทำปูนแดง จะนำปูนขาวมาผสมกับขมิ้นชัน ในสมัยก่อนนิยมเอาผงขมิ้นชันทาตัวให้ผิวเหลือง รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้ทาศีรษะหลังโกนผม เพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการใช้มีดโกนโกนผม

วิธีใช้ประโยชน์
แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการแสบคัน แก้หิว และแก้กระหาย ทำโดยล้างขมิ้นชันให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้

วิธีกินขมิ้นชัน
มีการศึกษาพบว่า การรับประทานขมิ้นตามเวลาที่อวัยวะต่าง ๆกำลังทำงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นให้มากขึ้น โดยวิธีกินขมิ้นชันควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ตามการรักษา
เวลา 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาของปอด หากรับประทานช่วงเวลานี้จะช่วยในการบำรุงปอดช่วยให้ปอดแข็งแรง ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง และช่วยเรื่องภูมิแพ้หายใจไม่สะดวก
เวลา 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลาหรือรับประทานยาถ่ายมานาน หากรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ให้บีบรัดตัวเพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างเป็นปกติ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ขับถ่ายน้อยหรือมากจนเกินไป และช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย หากรับประทานพร้อมกับโยเกิร์ต น้ำผึ้ง นมสด มะนาวหรือน้ำอุ่น จะช่วยชะล้างผนังลำไส้ให้สะอาดได้
เวลา 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง และยังช่วยแก้อาการปวดเข่า, ขาตึง, บำรุงสมองป้องกันโรคความจำเสื่อมได้อีกด้วย จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และยังลดอาการท้องอืด จุกแน่น, ปวดเข่า, ขาตึง, ช่วยบำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อมได้
เวลา 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลบริเวณปาก บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคเกาต์ การอ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป
เวลา 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรง
เวลา 15.00-17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้อาการตกขาว และการทำให้เหงื่อออกในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้ร่างกายขับสารพิษออกไปจากร่างกายได้มาก
เวลา 17.00 น. จนถึงเวลาเข้านอน การรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น เมื่อตื่นนอนจะไม่อ่อนเพลีย การขับถ่ายก็จะดีขึ้นด้วย

สรรพคุณของขมิ้น
ขมิ้นสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายนอก
1 ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ช่วยรักษาโรค ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้น
2 ด้วยการนำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำแล้วทาลงบนบาดแผล ช่วยสมานแผลตามร่างกายให้หายเร็วยิ่งขึ้น และยังช่วยให้บาดแผลไม่ติดเชื้อของกระต่ายและหนูขาวได้ และสามารถเร่งให้แผลที่ติดเชื่อหายได้
3 ขมิ้นยังมีสรรพคุณช่วยในการป้องกันการงอกของขนอีกด้วย โดยผู้หญิงชาวอินเดียมักนำขมิ้นมาทาผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก
4 ขมิ้นชันขัดผิว ใช้ทำทรีทเม้นท์พอกผิวขัดผิวด้วยขมิ้นช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง ด้วยการนำขมิ้นสดมาล้างน้ำให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปปั่นรวมกับดินสอพอง 2-3 เม็ด แล้วผสมกับมะนาว 1 ลูก ปั่นจนเข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าหรือผิวทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
5 ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียดคั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
6 มีฤทธิ์ในการต่อต้านและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และต่อต้านยีสต์ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ

ขมิ้นสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายใน
1 โดยนำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนแล้วนำมารับประทานครั้งละ 3 เม็ด 3 เวลา ช่วยรักษาอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง
2 ด้วยการนำขมิ้นสดมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำปูนใสแล้วรับประทาน ช่วยแก้อาการตกเลือด


1 สรรพคุณของขมิ้นข้อแรกคือมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
2 ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
3 ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
4 ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเล็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
5 ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
6 ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
7 ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
8 มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
9 ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
10 ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
11 ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ
12 ช่วยบำรุงสมองป้องกันโรคความจำเสื่อม
13 ช่วยลดการอักเสบ
14 ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
15 ช่วยรักษาอาการแพ้และไข้หวัด
16 ช่วยบรรเทาอาการไอ
17 ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้หายใจไม่สะดวก ให้มีอาการดีขึ้น
18 ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
19 ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี
20 ช่วยรักษาแผลที่ปาก
21 ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
22 น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
23 ขมิ้นชันสรรพคุณช่วยแก้อาการจุดเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
24 ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
25 ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
26 ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม
27 ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
28 ช่วยในการขับลม
29 ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี
30 มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี
31 ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้
32 ช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล
33 ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
34 ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
35 ช่วยแก้อาการตกขาว
36 ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
37 ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
38 ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย
39 ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
40 ช่วยต่อต้านปรสิต หรือเชื้ออะมีบาที่เป็นต้นเหตุของโรคบิดได้
41 ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย แบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง เป็นต้น
42 มีฤทธิ์ในการต่อต้านการกลายพันธุ์ และต้านสารก่อมะเร็งทีมีความเกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย และโรคเบาหวาน
43 ขมิ้นเป็นส่วนประกอบของทรีทเม้นท์รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน

ผลข้างเคียงของขมิ้นชัน
ขมิ้นชันผลข้างเคียงการรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร หากรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริงแต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าวควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อว่าขมิ้นชัน โทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่าการรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แต่อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง

อย่างไรก็ตามก็คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำด้วยการค่อย ๆปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้

การรับประทานอย่างพอประมาณและเหมาะสม ทานอาหารครบ 5 หมู่ งดพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค คือสิ่งที่ถูกต้อง บางสิ่งบางอย่างถึงแม้มันจะมีประโยชน์มากก็จริงแต่ถ้ามันมากเกินไปมันก็จะเป็นโทษกับตัวเราได้ จึงไม่ควรหลงละโมภ และทานอย่างไร้สติ

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ยางน่องเถา

ยางน่องเถา




ยางน่องเถา หรือยางน่องเครือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Strophanthus caudatus) เป็นไม้พุ่มเลื้อย ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามกัน แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่โคน สีขาว กางดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกแผ่แยกเป็น 5 กลีบ

ชื่อพื้นเมืองอื่น : เครืองน่อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่ฮ่องสอน) ตะเกาะแบเวาะ (มลายู ภาคใต้) น่อง (ภาคกลาง นครราชสีมา) บานบุรีป่า (ภาคใต้) ยางน่องเครือ (อุบลราชธานี) ยางน่องเถา (จันทบุรี ปราจีนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ยางน่องเถา เป็นไม้พุ่มเลื้อย ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามกัน แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่โคน สีขาว กางดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกแผ่แยกเป็น 5 กลีบ ปลายกลีบเป็นแถบแคบยาว สีแดงเข้ม ผลเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ยาว 10-30 เซนติเมตร เมล็ดสีน้ำตาลมีกระจุกขนสีขาว

การกระจายพันธุ์
ในธรรมชาติสามารถค้นพบต้นยางน่องเถาได้ตามบริเวณขอบป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือแถบจังหวัดนครพนม อุบลราชธานี นครราชสีมา ภาคตะวันออกและภาคใต้

ประโยชน์และโทษ
ประโยชน์ของยางน่องเถานั้นมีประโยชน์ในการทาลูกหน้าไม้ล่าสัตว์ซึ่งชาวบ้านใช้ยางจากยางน่องเถา ผสมกับยาพิษชนิดอื่น มีความเป็นพิษเช่นเดียวกับบานทน[3] แต่ก่อนรับประทานเนื้อสัตว์ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียวออกจนหมด จึงจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้นได้[4] ยางน่องเถามีคาร์ดิแอก ไกลโคไซด์จึงทำให้เป็นพิษต่อหัวใจ

ยางน่อง เป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักมักคุ้นของคนทั่วไป มีทั้งอย่างชนิดยืนต้นและอย่างเถา ยางน่องต้น มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Antiaris toxicaria Lesch. อยู่ในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มาก อาจสูงได้ถึง 70 เมตร ลำต้นจะเป็นพูพอน แผ่ออกพื้นดินเพื่อยึดลำต้น เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีขาวหรือขาวอมเทา เปลือกชั้นในสีขาวหรือขาวอมเหลือง
ถ้าถากเปลือกดูจะมีน้ำยางสีขาวหรือขาวอมเหลืองซึมตามรอยถาก พิษของยางน่องจะอยู่ที่ยาง ยางจะมีสารไกลโคไซด์ (glycoside) ที่เป็นพิษต่อหัวใจ ชื่อแอนดิเอริน (antiarin) มีรสขมและมีฤทธิ์กัด มีผลต่อระบบประสาท และหัวใจทำให้หัวใจเต้นช้าลง หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และหัวใจวายตาย
หมอโบราณทางภาคเหนือ กล่าวว่ายางที่ได้จากต้นยางน่องเป็นพิษ ใช้ชุบปลายลูกหน้าไม้ยิงสัตว์ใหญ่ได้ แต่ก่อนจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้น ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียวอันเกิดจากพิษยางน่องให้หมดเสียก่อนจึงจะรับประทานได้

แม้ยางต้นน่องจะเป็นพิษแต่เนื้อไม้ที่มีสีขาว เป็นไม้ที่เสี้ยนตรง เนื้ออ่อน สามารถที่จะนำไปทำเป็นหีบใส่ของ รองเท้าไม้ เครื่องเล่นต่างๆได้ และสามารถใช้เมล็ดต้นยางน่องเป็นยาแก้ไข้ ส่วนเปลือกต้นยางน่อง ให้ใยละเอียดสีขาว ใช้ทำเชือก เยื่อกระดาษ ทุบทำเป็นที่นอน ผ้าห่มและเสื้อกางเกงของพวกชาวป่า เช่น แม้ว มูเซอ และเงาะ เป็นต้น ต้นยางน่องจึงเป็นต้นไม้ที่น่าอนุรักษ์ต้นหนึ่ง แม้เราจะไม่ใช้ยางน่องในการชุบหน้าไม้ยิงสัตว์อีกต่อไปแล้ว แต่ส่วนอื่นของต้นยางน่องก็มีคุณค่าน่าศึกษา

ยางน่องอีกต้นเป็นชนิดเครือ ชื่อยางน่องเครือ ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Strophanthus scandens Roem & Schult อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางสีขาว ตามกิ่งอ่อนมีสีแดงเข้ม ส่วนที่เป็นพิษ คือ ยางจากต้น และเมล็ดมีสารไกลโคไซด์ (glycoside) ที่เป็นพิษต่อหัวใจ ชื่อ สโตรแฟนตินจี (Stophantin G), คอมบิคาซิต โคลีน (kombicacid choline), ไตรโกเนลลีน (trigonelline) ซึ่งทำให้หัวใจเต้นช้าลง เต้นไม่เป็นจังหวะและหัวใจวายตาย เช่นเดียวกับยางน่องต้น

ประสบการณ์ของหมอยาอิสานจะนิยมใช้ยางน่องเครือ พรานจะรู้ดีว่ายางน่องเครือต้นไหนมีพิษรุนแรง ต้นไหนมีพิษอ่อน ต้นที่มีพิษแรงจัดยอดจะออกเป็นสีแดงเข้มกว่า ยางจะออกเป็นสีขาวออกแดงเรื่อๆ วิธีการทำยางน่องเพื่อใช้ชุบลูกดอกเวลายิงสัตว์ เขาจะใช้กาบ(เปลือก) ยางน่องเครือใส่น้ำเคี่ยวให้เข้าๆกันจนเหนียวติดมือ เก็บใส่กระบอกไม้ไผ่ไว้ใช้

พรานบางคนต้องให้พิษยางน่องแรงขึ้น จะเพิ่มต้นยาสูบลงไปประมาณ 1 คืบ ถ้าไม่มีต้นเอาใบยาสูบที่แรงๆสักเล็กน้อย และเปลือกไม้ชนิดหนึ่งชื่อ ไม้ชีงวง ใช้หนึ่งคืบ สองอย่างนี้ไม่ต้องใช้มากเท่าเปลือกยางน่อง เป็นตัวเสริมฤทธิ์เท่านั้น และถ้ายางน่องในกระบอกที่เก็บไว้แห้งกรัง เขาจะเคี้ยวเปลือกไม้ชีงวงใส่แล้วเอายางน่องในกระบอกไปอุ่นไฟ ยางน่องในกระบอกจะมีพิษและใช้ได้เหมือนเดิม ถ้าหากเกิดพลาดพลั้ง เช่น ยิงถูกกันเอง หรือเผลอเอามือที่มีแผลไปสัมผัส ท่านให้รีบไปเคี้ยวผ้าดำ เคี้ยวๆแล้วกลืนน้ำลายกิน เพราะว่าผ้าดำจะเกิดจากการย้อมด้วยต้นครามและด่าง (ทำจากเผาไม้ในธรรมชาติ เช่น ด่างไม้ขี้เหล็ก) หรือให้กินปูนา จะกินปูนาดิบๆเพราะปิ้งไม่ทันหรือที่ปิ้งไว้แล้วก็ได้ หมอยาหลายท่านยืนยันว่าปูนาสามารถแก้พิษยางน่องได้ชะงัดจริง หากเป็นสมัยนี้ถ้าถูกพิษทั้งยางน่องต้นและยางน่องเครือเเข้าต้องวิ่งหา ผงถ่าน ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ยาป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ (propanold) กันให้วุ่นวายไปหมด

แม้ยางน่องจะมีพิษ ห้ามสัมผัสถูกแผลเพราะอาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเป็นพิษถึงตายได้ แต่ถ้าเป็นแผลถูก งูกัด ไม่ว่าจะเป็นงูชนิดใด รวมทั้งตะขาบ แมลงป่อง สามารถใช้ยางน่องทาแผลรอยกัดเหล่านั้นเพื่อรักษาพิษจากงูและสัตว์พิษเหล่านั้นได้ เป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่าใช้พิษแก้พิษ ภูมิปัญญาและประสบการณ์การใช้พรรณพืชของบ้านเรา หลายคนอาจมองเป็นเรื่องโม้หรือเรื่องเล่าไร้การทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่เรื่องเล่าและประสบการณ์เหล่านี้แหละที่เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนายาสมัยใหม่
แม้เราไม่สามารถพัฒนายาใหม่จากต้นยางน่องได้ อย่างน้อยเรื่องราวของยางน่องก็เป็นอุทาหรณ์บอกกับเราว่า ยางน่องแม้จะเป็นพิษแต่ก็แก้พิษได้

ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_tox...asp?info_id=86

ถ้าโดนพิษจากยางน่องเครือให้ใช้เถาย่านางแดงหรือรากรางจืดฝนกับมะนาวกินและทา

แอลคาลอยด์ (Alkaloid)

แอลคาลอยด์ (อังกฤษ: alkaloid) เป็นสารอินทรีย์กลุ่มที่มีธาตุไนโตรเจนอยู่ภายในโมเลกุล ในรูปของเอมีน (amine) เอมีนออกไซด์ (amine oxide) หรืออาจพบอยู่ในรูปของเอไมด์ (amide) และอีไมด์ (imide) ไนโตรเจนในแอลคาลอยด์ได้มาจากกรดอะมิโน โดยทั่วไปแอลคาลอยด์จะมีคุณสมบัติเป็นเบส แต่จะมากหรือน้อยขึ้นกับจานวนของไนโตรเจน บางชนิดเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อน มักมีฤทธิ์ทางยา ในธรรมชาติจะพบแอลคาลอยด์มากในพืชชั้นสูง ตามส่วนต่าง ๆ ของพืชเช่น ใบ ดอก ผล เมล็ด รากและเปลือก พบน้อยในพืชชั้นต่า สัตว์ และจุลินทรีย์

แบ่งแอลคาลอยด์ตามโครงสร้างทางเคมี ได้เป็น

แอลคาลอยด์ที่มีไนโตรเจนอยู่นอกวง (non-heterocyclic alkaloids)
แอลคาลอยด์ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนของวง (heterocyclic alkaloids) ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้เป็นกลุ่มไพโรล (pyrrole) ไพโรลิดีน (pyrrolidine) ไพริดีน (pyridine) พิเพอริดีน (piperidine) ไพโรโลซิดีน (pyrrolozidine) โทรเพน (tropane) ควิโนลีน (quinoline) ไอโซควิโนลีน (isoquinoline) อะพรอฟีน (aporphine) นอร์ลูพิเนน (nor-lupinane) อินโดล (indole) อิมิดาโซล (imidazole) พิวรีน (purine) และสเตอรอยด์ (steroid)

ผลึกของ piperine สกัดจาก พริกไทยดำ
หน้าที่ของแอลคาลอยด์ในพืชยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจเป็นแหล่ง สะสมไนโตรเจนเพื่อสร้างโปรตีน ควบคุมการเจริญเติบโต หรือการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด ช่วยป้องกันพืชจากแมลง หรืออาจเป็นสารที่ได้จากการทำลายพิษที่เกิดขึ้นในกระบวนการเมทาบอลิซึมของพืช แอลคาลอยด์ส่วนใหญ่มักมีรสขมและมีพิษ อย่างไรก็ตามมีพืชมากกว่า 80% ที่ไม่สร้างและไม่สะสมแอลคาลอยด์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าสารแอลคาลอยด์เป็นสารที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชทุกชนิด

แอนทราควิโนน (Anthraquinone)

สารแอนทราควิโนน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีกลิ่นหอมอยู่ในกลุ่มควิโนน (quinone) มีสูตรโมเลกุล C14H8O2 มีน้าหนักโมเลกุล 208.22 กรัม/โมลโครงสร้างของสารประกอบด้วยวงเบนซีน 3 วงทาพันธะต่อกัน (Royal society of Chemistry, 2014) ดังรูปที่ 1 แอนทราควิโนนเป็นสารที่นามาใช้ประโยชน์เป็นยาระบาย และใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง พบมากในพืชหลายสกุล รวมทั้งสกุลแคสเซีย (Cassia) ในการเปรียบเทียบปริมาณแอนทราควิโนนในพืชสกุลแคสเซีย 4 ชนิด ได้แก่ ขี้เหล็ก คูน ชุมเห็ดเทศ และทรงบาดาล ซึ่งเก็บจาก 4 ภูมิภาค ในช่วงฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ผลการวิจัยพบว่า ชนิดของแคสเซีย แหล่งที่ปลูก และฤดูกาล จะมีผลต่อปริมาณแอนทราควิโนน แคสเซียที่ให้ปริมาณแอนทราวิโนน สูงสุดคือชุมเห็ดเทศ ร้อยละ 1.33 รองลงมาคือ ใบคูน ร้อยละ 0.57 ฝักคูน ร้อยละ0.6 ขี้เหล็ก ร้อยละ 0.12 และทรงบาดาล ร้อยละ 0.04 ตามลาดับ (สมศักดิ์, 2542) นอกจากนี้ แอนทราควิโนนยังใช้เป็นวัสดุเริ่มต้นของสารย้อมสี และในอุตสาหกรรมกระดาษจะใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อเพิ่มผลผลิตของเยื่อกระดาษ อีกทั้งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเส้นใย (Greatvista Chemicals, 2012)

ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)

ไกลโคโปรตีน (อังกฤษ: Glycoprotein) เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีนที่หลั่งออกนอกเซลล์ และโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยเป็นโปรตีนที่เชื่อมต่อกับโอลิโกแซคคาไรด์ มีหน้าที่ที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต พบในโมเลกุลที่เป็นโครงสร้าง เช่น คอลลาเจน ไฟบริน โมเลกุลสำหรับขนส่งวิตามิน ไขมัน แร่ธาตุต่างๆ ตัวรับสัญญาณจากฮอร์โมน ส่วนที่จดจำระหว่างเซลล์ข้างเคียงหรือระหว่างไวรัสกับเซลล์เจ้าบ้าน โมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เอนไซม์บางชนิดเช่น โปรตีเอส (Protease) ไฮโดรเลส (Hydrolase) สารคัดหลั่งต่างๆ เช่น มูซิน (Mucin) เลกทิน (Lectin) หรือซีเลกทิน (Selectin) ซึ่งมีบทบาทในการจดจำเซลล์เป้าหมายของเชื้อก่อโรค

ไซยาไนด์ (Cyanide)

ไซยาไนด์ (อังกฤษ: cyanide) เป็นสารพิษชนิดหนึ่ง มีทั้งในรูปของแข็งและก๊าซ

ไซยาไนด์ (Cyanide) ที่คุ้นๆ กันดีมีอยู่ 2 รูปแบบ คืออย่างเป็นก๊าซ นั่นคือ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide) ซึ่งมีสูตรเคมีว่า HCN จะเรียกมันว่าก๊าซไซยาไนด์ (Cyanide gas) ก็ได้ และอย่างที่เป็นเกลือของไซยาไนด์ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายตัว แต่ขอพูดถึงแต่โพแทสเซียมไซยาไนด์ (Potassium Cyanide; สูตรเคมี KCN)

โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN) มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นผงที่ละลายน้ำได้ มีกลิ่นคล้าย ๆ อัลมอนด์ แต่ก็เป็นกลิ่นที่จางมากเลย การหย่อนเกลือไซยาไนด์ลงในกรดจะทำให้เกิดก๊าซไซยาไนด์ (HCN) พุ่งขึ้นมาทันที ก๊าซนี่กลิ่นเหมือนอัลมอนด์ แต่ก็กลิ่นจางมาก จางจนต้องอาศัยความเชี่ยวชาญซักหน่อยในการได้กลิ่นก๊าซไซยาไนด์ มีสถิติว่าประมาณ 20% ของผู้ใหญ่จะเป็นคนที่ไม่สามารถจับกลิ่นก๊าซไซยาไนด์ได้เลยเนื่องจากมันเป็นกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ก๊าซไซยาไนด์ก็เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ง่ายมาก และทำปฏิกิริยาได้รุนแรง ผลลัพธ์ของก๊าซไซยาไนด์จำนวนมากรั่วมาสู่อากาศ อาจจะระเบิดได้

อันตรายของไซยาไนด์
ไซยาไนด์สามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูดเอาก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ ถ้าเป็นการกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ก็จะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที ถ้ามีข้าวอยู่เต็มกระเพาะแล้ว ก็หน่วงเวลาตายอีกหน่อยเป็นชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ก็เหมือนการหย่อนมันลงในกรดนั่นแหละ มันก็จะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในตัวเรา ผลลัพธ์เลยออกมารวดเร็วกว่ากินขณะท้องว่างหลายเท่า แต่ถ้าเป็นการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไปอันนี้เร็วมาก นับเวลาตายถอยหลังเป็นวินาทีได้เลย

ความเข้มข้นของไซยาไนด์ก็มีผลกับความเร็วมาก ถ้าจับคนล็อกไว้ในห้องก๊าซขนาด 1x1x1 เมตร แล้วปล่อยก๊าซไซยาไนด์เข้าไปซัก 300 มิลลิกรัม เขาจะตายทันทีโดยไม่ทันร้องซักแอะ แต่ถ้าปล่อยก๊าซไซยาไนด์ 150 มิลลิกรัมเข้าไป เขาจะมีเวลาอีกประมาณ 30 นาทีไว้ทรมานก่อนตาย แล้วถ้าปล่อยก๊าซเข้าไปแค่ 20 มิลลิกรัม เขาจะยังไม่ตาย เพียงแต่จะมีอาการผิดปกติเล็กน้อยหลังจากนั้น

กลไกการออกฤทธิ์ของไซยาไนด์
อาหารที่เรากินเข้าไปนั้นร่างกายจะนำไปผ่านกระบวนการซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้กลายเป็นพลังงานเก็บไว้ใช้ เพราะร่างกายเราต้องการพลังงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่เวลาที่เรานั่งเฉย ๆ คิดเรื่อยเปื่อยร่างกายก็ยังใช้พลังงานไปกับการคิด การเก็บพลังงานนี้จะเป็นการเก็บไว้ในสารที่ใช้เก็บพลังงาน โดยเฉพาะซึ่งก็มีอยู่หลายชนิด ซึ่งร่างกายสร้างมา หนึ่งในกระบวนการสร้างสารเก็บพลังงานนี้คือกระบวนการที่เรียกว่า Electron Transfer System ( เรียกย่อว่า ETS) ซึ่งในสภาพปกติแล้วจะเป็นการส่งผ่านอิเล็กตรอนที่ได้จากอาหารให้กับตัวรับที่เรียกว่า cytochrome ระหว่างการส่งอิเล็คตรอนไปเรื่อยเป็นทอดๆ จะมีการปล่อยพลังงานออกมาให้ตัวเก็บพลังงานรับไป แล้วเราจะได้สารเก็บพลังงานมาหนึ่งตัว เมื่อมีไซยาไนด์ ไซยาไนด์จะไปเกาะที่ cytochrome ทำให้การส่งต่ออิเล็คตรอนชะงัก การสร้างสารเก็บพลังงานชะงักแล้วเราก็ตาย ไซยาไนด์ยังสามารถไปเกาะกับฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสารตัวที่ร่างกายใช้ขนส่งออกซิเจนไปตามที่ต่าง ๆ ทั่วร่างกายด้วย เมื่อมีไซยาไนด์มาเกาะหมับแทนที่ออกซิเจนแล้ว เซลล์ในร่างกายเราย่อมทุรนทุราย เพราะขาดออกซิเจนอันเป็นของจำเป็นต้องใช้ ในที่สุดก็ตายอีกเช่นกัน สภาพของคนที่ตายเพราะไซยาไนด์จึงมีลักษณะเหมือนคนขาดอากาศหายใจตาย ด้วยเหตุนี้ไซยาไนด์จึงสามารถทำให้คนตายได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อาการโดนพิษจากไซยาไนด์
ไม่รุนแรง
- กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก
- หายใจลำบาก
- ปวดหัว รู้สึกมึนๆ วิงเวียน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จาง ๆ
- รู้สึกระคายเคืองคัน ๆ ที่จมูก คอ ปาก

รุนแรง
- คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงกว่า
- หายใจลำบากขนาดต้องอ้าปากพะงาบ ๆ งับอากาศ
- ชักดิ้นชักงอ
- หมดสติ

ถ้าไปพบคนกำลังแย่เพราะไซยาไนด์อยู่ตรงหน้า ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเป็นการกินเข้าไปก็ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลล้างท้องเร็วที่สุด ถ้าเป็นก๊าซไซยาไนด์ ก็ต้องพาออกไปให้พ้นจากบริเวณที่มีก๊าซให้เร็วที่สุด ถ้าเสื้อผ้าหรือผิวหนังเปื้อนสารไซยาไนด์ก็ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ที่สำคัญคือคนช่วยต้องระวังตัวมาก ๆ อย่าสูดลมหายใจของผู้ป่วยเข้าไปเป็นอันขาด แล้วเรียกรถพยาบาลมาด้วย

สารเคมีในสมุนไพร

สารเคมีในสมุนไพร

สารประกอบทางเคมีในพืชสมุนไพร จำแนกได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ

Primary metabolite  เป็นสารที่มีอยู่ในพืชชั้นสูงทั่วไป พบในพืชทุกชนิด เป็นผลิตผลที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) เช่น คาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน เม็ดสี (pigment)  และเกลือนินทรีย์ (inorganic salt) เป็นต้น

Secondary metabolite  เป็นสารประกอบที่มีลักษณะค่อนข้างพิเศษ พบต่างกันในพืชแต่ละชนิด คาดหมายว่าเกิดจากกระบวนการชีวะสังเคราะห์ (Biosynthesis) ที่มีเอนไซม์(enzyme) เข้าร่วม สารประกอบประเภทนี้มีอัลคาลอยด์ (Alkaloid) แอนทราควิโนน (Anthraquinone) น้ำมันหอมมันหอมระเหย (Essential oil) เป็นต้น
     ส่วนใหญ่สารพวก Secondary metabolite มีจะสรรพคุณทางยา แต่ก็มิได้แน่นอนตายตัวเสมอไป จากการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าสารพวก Primary metabolite บางตัวก็ออกฤทธิ์ในการรักษาได้เช่นกัน และยังมีข้อสังเกตอีกว่าสารประกอบที่มีฤทธิ์ทางยาในพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง อาจมิใช่เพียงตัวเดียว อาจมีหลายตัวก็ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ถ่องแท้ จึงจะสามารถสกัดสารที่มีฤทธิ์ทางยามาใช้ได้

สมุนไพรประกอบด้วยสารเคมี หลายชนิดอาจแบ่งกลุ่มใหญ่ได้ 7 กลุ่ม ดังนี้
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอินทรีย์ที่ประกอยด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน คาร์โบไฮเดรตเป็นกลุ่มสารที่พลมากทั้งในพืชและสัตว์ สารที่เป็น คาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง น้ำตาล กัม (Kum) วุ้น (Agar) น้ำผึ้ง เปคติน (Pectin) เป็นต้น

ไขมัน (Lipids) ไขมันเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (Organin Solvent) และเมื่อทำปฏิกิริยากับด่างจะกลายเป็นสบู่ น้ำมันในพืชหลายชนิดเป็นยา สมุนไพร เช่น น้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น

น้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil หรือ Essential Oil) น้ำมันหอมระเหยเป็นสารที่พบมากใน พืชเขตร้อน มีลักษณะเป็นน้ำมัน มีกลิ่นและรสเฉพาะตัว ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิธรรมดา เบากว่าน้ำ สามารถสกัด ออกมา จากส่วนของพืชได้ โดยวิธีการกลั่นด้วย ไอน้ำ (stream distillation) หรือการบีบ (expression) ประโยชน์คือเป็นตัวแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และ สมุนไพรมี ประโยชน์ด้านขับลม ฆ่าเชื้อโรค พืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย คือ กระเทียม ขิง ไพล มะกรูด ตะไคร้ กานพลู อบเชย เป็นต้น

เรซินและบาลซัม (Resins and Balsums) เรซินเป็นสารอินทรีย์หรือสารผสมประเภทโพลีเมอร์ มีรูปร่างไม่แน่นอนส่วนใหญ่จะเปราะ แตกง่าย บางชนิดจะนิ่ม ไม่ละลายน้ำ ละลายได้ในตัวทำลาย อินทรีย์ เมื่อเผาไฟจะ หลอมเหลว ได้สารที่ใส ข้น และเหนียว เช่น ชันสน เป็นต้น บาลซัม เป็นสาร resinous mixture ซึ่งประกอบด้วย กรดซินนามิก (CIN-NAMIC ACID) หรือเอสเตอร์ของกรดสองชนิดนี้ เช่น กำยาน เป็นต้น

แอลคาลอยด์ (Alkaloids) แอลคาลอยด์เป็นสารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ (Organic Nitrigen Compound) มักพบในพืชชั้นสูง มีสูตรโครงสร้างซับซ้อน และแตกต่างกันมากมาย ปัจจุบัน พบแอลคาลอยด์มากกว่า 5,000 ชนิด คุณสมบัติของแอลคาลอยด์ คือ ส่วนใหญ่มีรสขม ไม่ละลายน้ำ ละลาย ได้ในสารละลายอินทรีย์ (Organic Solvent) มีฤทธิ์ เป็นด่าง แอลคาลอยด์มีประโยชน์ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง เช่นใช้เป็นยา ระงับปวด ยาชาเฉพาะที่ ยาแก้ไอ ยาแก้หอบหืด ยารักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ ยาลดความดัน ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เป็นต้น พืชสมุนไพรที่มีแอลคาลอยด์เป็นส่วนมาก คือ หมากลำโพง ซิงโคนา ดองดึง ระย่อม ยาสูบ กลอย ฝิ่น แสลงใจ เป็นต้น

ไกลโคไซด์ Glycosides)กลัยโคไซด์เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจาก agycone (หรือ genin) จับกับส่วนที่เป็นน้ำตาล (glycone part) ละลายน้ำได้ดี โครงสร้างของ agycone มีความแตกต่าง กันหลายแบบ ทำให้ประเภทและ สรรพคุณทางเภสัชวิทยาของกลัยโคไซด์มีหลายชนิด ใช้เป็นยาที่มีประโยชน์ และสารพิษที่มีโทษต่อร่างกาย กลัยโคไซด์จำแนกตามสูตรโครงสร้างของ agycone ได้หลาย ประเภท คือ
– คาร์ดิเอ็ก กลัยโคไซด์ (Cardiac Glycisides) มีฤทธิ์ต่อระบบกล้ามเนื้อหัวใจ และระบบการ ไหลเวียนของโลหิต เช่น ใบยี่โถ เป็นต้น – แอนทราควิโนน กลัยโคไซด์ (Antrawquinone Glycosides) มีฤทธอ์เป็นยาระบาย ยาฆ่าเชื้อ และสีย้อมผ้า เช่น ใบมะขามแขก ใบขี้เหล็ก ใบชุมเห็ดเทศ ใบว่านหางจระเข้ – ซาโปนิน กลัยโคไวด์ (Saponin Glycosides) เป็นกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติเกิดฟอง เมื่อเขย่ากับน้ำ เช่น ลูกประคำดีควาย เป็นต้น – ไซยาโนเจนนีติก กลัยโคไซด์ (Cyanogenatic Glycosides) มีส่วนของ Agycone เช่น Cyanogenetic Nitrate สารกลุ่มนี้เมื่อถูกย่อยจะได้สารจำพวกไซนาไนด์ เช่น รากมันสำปะหลัง ผักสะตอ ผักหนาน ผักเสี้ยนผี กระเบาน้ำ เป็นต้น – ไอโซไทโอไซยาเนท กลัยโคไซด์ (Isothiocyanate Glycosides) มีส่วนของ agkycone เป็นสารจำพวก Isothiocyanate – ฟลาโวนอล กลัยโคไซด์ (Favonol gkycosides) เป็นสารสีที่พบในหลายส่วนของพืช ส่วนใหญ่สีออกไปทางสีแดง เหลือง ม่วง น้ำเงิน เช่น ดอกอัญชัน เป็นต้น – แอลกอฮอลิค กลัยโคไซด์ (Alcoholic Glycosides) มี alycone เป็นแอลกอฮอล์ ยังมีกลัยโคไซด์อีกหลายชนิด เช่น ฟินอลิค หลัยโคไซด์ (Phenolic Glycosides) แอลดีไฮด์ กลัยโคไซด์ (Aldehyde Glycosides) เป็นต้น

แทนนิน (Tannins) เป็นสารที่พบได้ในพืชหลายชนิด มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็น กรดอ่อนรสฝาด แทนนินใช้เป็นยาฝาดสมาน ยาแก้ท้องเสีย ช่วยรักษาแผล ไฟไหม้ และใช้ประโยชน์ใน อุตสาหกรรม ฟอกหนัง กรณีที่รับประทานแทนนินเป็นประจำอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ สมุนไพรที่มีแทนนิน คือ เปลือกทับทิม เปลือกอบเชย ใบฝรั่ง ใบ / เปลือกสีเสียด ใบชา เป็นต้น นอกจากสารดังกล่าว ในพืชสมุนไพรยังมีสารประกอบอีกหลายชนิด เช่น ไขมัน สเตียรอยด์ (steroid) เป็นต้น สารเหล่านี้บางชนิด มีสรรพคุณทางยาเช่นกัน

สงวนลิขสิทธิ์โดย @ เว็บไซต์สมุนไพรดอทคอม (www.samunpri.com)

ไกลโคไซด์ (Glycosides)

ไกลโคไซด์ (Glycosides) เป็นสารประกอบอินทรีย์กลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่งสามารถพบได้จากการสกัดพืชชั้นสูง มีโครงสร้างประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นน้ำตาลเรียกว่า ไกลโคน (Glycone) จับกับส่วนที่ไม่ใช่นน้ำตาล เรียกว่า อะไกลโคน (Aglycone) หรือจีนิน (Genin) ไกลโคไซด์ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ทาง
ชีวภาพ สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้อย่างกว้างขวาง ฤทธิ์ในทางเภสัชวิทยาของไกลโคไซด์ขึ้นอยู่กับส่วนอะไกลโคนเป็นส่วนใหญ่เมื่อแบ่งตามลักษณะสูตรโครงสร้างของอะไกลโคน
จะแบ่งไกลโคไซด์ได้เป็น 11 กลุ่มดังนี้ คือ

คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ (Cardiac Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นสเตียรอยด์นิวเคลียส คือมีโครงสร้างเป็นวงแหวนไซโคเพนทาโนเพอไฮโดรฟีแนนทรีนอยู่ในโมเลกุลมีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

แอนทราควิโนนไกลโคไซด์(Anthraquinone Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นอนุพันธ์ของแอนทราซีน (Anthracene) ใช้ประโยชน์เป็นยาระบายและยาฆ่าเชื้อรา

ซาโปนินไกลโคไซด์ (Saponin Glycosides) อะไกลโคนเป็นสารจำพวกสเตียรอยด์ หรือ ไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpeniods)เป็นสารที่ให้ฟองเมื่อเขย่ากับน้ำ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาจำพวกสเตียรอยด์ฮอร์โมนหลายชนิด

ไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (Cyanogenic Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นอนุพันธ์ของ Mandelonitrile เมื่อถูกย่อยจะให้กรดไฮโดรไซยานิก (Hydrocyanic Acid) หรือไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษ แต่สามารถขจัดไซยาไนด์ก่อนรับประทานได้โดยผ่านความร้อน

ไอโซไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ (Isothiocyanate Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นสารประกอบไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate) มักพบในเครื่องเทศที่มีรสเผ็ดร้อน

ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ (Flavoniod Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นสารจำพวกฟลาโวนอยด์ (Flavoniod) พบในส่วนต่างๆ ของพืชโดยเฉพาะในดอก ทำให้ดอกไม้มีสีสวยงามตัวอย่างของฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ ที่นำมาใช้ในทางยาได้แก่ รูติน (Rutin) ใช้รักษาโรคเส้นเลือดฝอยเปราะ ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ ในต้น Buchu ใช้ขับปัสสาวะ เป็นต้น

แอลกอฮอลิกไกลโคไซด์ (Alcoholic Glycosides) ,ฟีนอลิกไกลโคไซด์ (Phenolic Glycosides) ,แอลดีไฮด์ไกลโคไซด์ (Aldehyde Glycosides) สามกลุ่มนี้มีอะไกลโคนเป็นสารประเภทแอลกอฮอล์ ฟีนอล และแอลดีไฮด์ ตามลำดับ เป็นสารที่ใช้ประโยชน์เป็นยาแก้ปวด ยาขับปัสสาวะ และสารแต่งกลิ่นหอม

แลคโทนไกลโคไซด์ (Lactone Glycosides) หรืออาจเรียกคูมารินไกลโคไซด์ (Coumarin Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นสารประเภทแลคโทน (Lactone) ส่วนใหญ่ใช้เป็นสารแต่งกลิ่น

แทนนินไกลโคไซด์ (Tannin Glycosides) มีสารจำพวก Polyphenolic เป็นอะไกลโคน แทนนินไกลโคไซด์เป็นสารกลุ่มใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในพืชเกือบทุกชนิด ใช้ประโยชน์เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย ช่วยรักษาแผลไฟไหม้และใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังสัตว์อีกด้วย

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้



ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน

คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่

วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin, สารประเภท Glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร Anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะในวุ้นใบว่านหางจระเข้นอกจากจะมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียแล้วยังช่วยสมานแผลได้ด้วย

ว่านหางจระเข้สามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายนอก 
ใช้ส่วนวุ้น ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด
1. รักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก
ใช้วุ้นในใบสดทา หรือแปะที่แผลให้เปียกอยู่ตลอดเวลา 2 วันแรก แผลจะหายเร็วมาก จะบรรเทาปวดแสบ ปวดร้อน หรืออาการปวดจะไม่เกิดขึ้น แผลอาจไม่มีแผลเป็น (ระวังความสะอาด)
2. ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา และแก้แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี
-  ป้องกันการถูกแดดเผา ใช้ทาก่อนออกแดด อาจใช้ใบสดก็ได้ แต่การใช้ใบสดอาจจะทำให้ผิวหนังแห้ง เนื่องจากใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าจะลดการทำให้ผิวหนังแห้ง อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืช หรืออาจจะเตรียมเป็นโลชันให้สะดวกในการใช้ขึ้น
- รักษาผิวหนังที่ถูกแดดเผา หรือไหม้เกรียมจากการฉายแสง โดยการทาด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้บ่อยๆ จะลดการอักเสบลง แต่ถ้าใช้วุ้นทานานๆ จะทำให้ผิวแห้ง ต้องผสมกับน้ำมันพืช ยกเว้นแต่ จะทำให้เปียกชุ่มอยู่เสมอ
3. แผลจากของมีคม แก้ฝี แก้ตะมอย และแผลที่ริมฝีปาก
เป็นการรักษาแบบพื้นบ้าน ล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาด บาดแผลก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน นำวุ้นจากใบแปะตรงแผลให้มิด ใช้ผ้าปิด หยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้เปียกอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้
4. แผลจากการถูกครูด หรือถลอก
แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก ใช้ใบว่านหางจระเข้ล้างให้สะอาด ผ่าเป็นซีก ใช้ด้านที่เป็นวุ้นทาแผลเบาๆ ในวันแรกควรทาบ่อยๆ จะทำให้แผลไม่ค่อยเจ็บ และแผลหายเร็วขึ้น
5. รักษาริดสีดวงทวาร
นอกจากจะช่วยรักษาแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวด อาการคันได้ด้วย โดยทำความสะอาดทวารหนักให้สะอาดและแห้ง ควรปฏิบัติหลังจากการอุจจาระ หรือหลังอาบน้ำ หรือก่อนนอน เอาว่านหางจระเข้ปอกส่วนนอกของใบ แล้วเหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อย เพื่อใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ถ้าจะให้เหน็บง่าน นำไปแช่ตู้เย็น หรือน้ำแข็งให้แข็ง จะทำให้สอดได้ง่าย ต้องหมั่นเหน็บวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
6. แก้ปวดศีรษะ
ตัดใบสดของว่านหางจระเข้หนาประมาณ 1/2 เซนติเมตร ทาปูนแดงด้านหนึ่ง เอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
7. เป็นเครื่องสำอาง
 7.1 วุ้นจากใบสดชโลมบนเส้นผม ทำให้ผมดก เป็นเงางาม และเส้นผมสลวย เพราะวุ้นของว่านหางจระเข้ทำให้รากผมเย็น เป็นการช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี ผมจึงดกดำเป็นเงางาม นอกจากนั้นแล้ว ยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะด้วย
 7.2 สตรีชาวฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้รวมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า (เนื้อในของเมล็ดสะบ้ามีสีขาว ส่วนผิวนอกของเมล็ดสะบ้ามีสีน้ำตาลแดง รูปร่างกลมแบนๆ ใช้เป็นที่ตั้งในการเล่นสะบ้า) ต่อเนื้อในเมล็ดสะบ้าประมาณ 1/2 ของผลให้ละเอียด แล้วคลุกรวมกับวุ้น นำไปชโลมผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก ใช้กับผมร่วง รักษาศีรษะล้าน
7.3 รักษาผิวเป็นจุดด่างดำ ผิวด่างดำนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมาก หรือถูกแสงแดด หรือเป็นความไวของผิวหนังแต่ละบุคคล ใช้วุ้นทาวันละ 2 ครั้ง หลังจากได้ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำสะอาด ต้องมีความอดทนมาก เพราะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ จึงจะหายจากจุดด่างดำ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ควรใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ทา จะทำให้ผิวหนังมีน้ำ มีนวลขึ้น
7.4 รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อ ช่วยเรียกเนื้อ ช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ
7.5 โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังลองใช้กับคนไข้ที่เป็นแผล เกิดขึ้นจากนั่ง หรือนอนทับนานๆ ( Bed sore )
ปัจจุบัน มีเครื่องสำอางที่เตรียมขายในท้องตลาดหลายารูปแบบ เช่น ครีม โลชัน แชมพู และสบู่
สำหรับสาระสำคัญที่สามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และอื่นๆ นั้น ได้ค้นพบว่าเป็นสาร glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A เป็น Anti-inflammatory พบในทุกๆ ส่วนของว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้สามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายใน 
1. เป็นยาถ่าย
ใช้น้ำยางสีเหลืองที่มีรสขม คลื่นไส้ อาเจียน น้ำยางสีเหลืองที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของใบกับตัววุ้น จะให้ยาที่เรียกว่า ยาดำ
วิธีการทำยาดำ
ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบให้เป็นรูปสามเหลี่ยม (ต้องเป็นพันธุ์เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่ และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก) ต้นที่เหมาะจะตัด ควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปีที่ 3 และจะให้ไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบ และปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน
ยาดำ มีลักษณะสีแดงน้ำตาล จนถึงดำ เป็นของแข็ง เปราะ ผิวมัน กลิ่นและรสขม คลื่นไส้ อาเจียน
สารเคมี - สารสำคัญในยาดำเป็น G-glycoside ที่มีชื่อว่า barbaloin (Aloe-emodin anthrone C-10 glycoside)
ขนาดที่ใช้เป็นยาถ่าย - 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม ประมาณ 1-2 เม็ดถั่วเขียว บางคนรับประทานแล้วไซ้ท้อง
2. แก้กระเพาะ ลำไส้อักเสบ
โดยเอาใบมาปอกเปลือกออก เหลือแต่วุ้น แล้วใช้รับประทาน วันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
3. แก้อาการปวดตามข้อ
โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น หรืออาจจะใช้วิธีปอกส่วนนอกของใบออก เหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับประทานวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 2 ช้อนแกง บางคนบอกว่า เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้ อาการปวดตามข้อจะทุเลาทันที แต่หลายๆ คนบอกว่า อาการจะดีขึ้นหลังจากรับประทานติดต่อกันสองเดือนขึ้นไป สำหรับใช้รักษาอาการนี้ ยังไม่ได้ทำการวิจัย

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้
ใบ - รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
ทั้งต้น - รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
ราก - รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด
ยางในใบ - เป็นยาระบาย
น้ำวุ้นจากใบ - ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น
เนื้อวุ้น - เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
เหง้า - ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด

ข้อควรระวังในการใช้ 
1 ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวาร
2 ถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้
          นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกแยะสาระสำคัญตัวใหม่จากใบว่านหางจระเข้ได้ สารตัวใหม่นี้เป็น glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A ได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
          นอกจากนี้พบว่า สารนี้สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น มะเร็ง แก้อาการแพ้ รักษาไฟไหม้ และรักษาโรคผิวหนัง

สารเคมี
          ใบมี Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine, Glutamine, Glycine.

สารอะโลคูติน (Aloe Cutin) และสารอะลอกติน เอ (Aloctin A) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ และสลายพิษ
สารบาร์บาโลอิน (Barbaloin) มีฤทธิ์ในทางระงับเชื่อไวรัส
สารโพลีแซคคาไรท์ (Polysaccharide) สามารถกระตุ้นการสมานแผล
สารอะโลมิซิน (Aloemicin) สามารถระงับการขยายตัวของเชื้อไวรัส โรคมะเร็ง

บัวบก

บัวบก



บัวบก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Centella asiatica) เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในแถบเอเชีย เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ใบบัวบกสามารถช่วยรักษาแผลให้หายได้เร็วขึ้นและยังช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้ดี เพราะมีกรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และสารอะเซียติโคไซด์ ยาแผนปัจจุบันทำเป็นรูปครีมผงโรยแผล ยาเม็ดรับประทาน เพื่อใช้รักษาแผลสดและแผลผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นแผลไฟไหม้ หรือแผลฝีหนองหรือแผลสด โดยใช้ใบและต้นสดตำละเอียดคั้นน้ำทานวันละ 3 - 4 ครั้ง หรืออาจใช้กากพอกบริเวณแผลด้วย

สารสกัดด้วยน้ำของใบบัวบกที่มีความเข้มข้น 31.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของ Flavobacterium columnaris ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ บัวบกที่สกัดด้วยเอทานอล มีความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง Vero cell โดยมีค่า CD50 เท่ากับ 0.16 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดจากต้นสดที่สกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

ในศรีลังกาใส่ใบบัวบกในข้าวต้ม โดยต้มข้าวกับน้ำซุปผักจนสุกนุ่ม ใส่กะทิ ปรุงรสด้วยเกลือ ยกลงแล้วจึงใส่ใบบัวบก ในไทยใช้เป็นผักแนม กินกับผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ทำยำใบบัวบก หรือคั้นทำน้ำใบบัวบกทางภาคใต้ใส่ในแกงพริกหมู สำหรับผู้ที่แพ้ถ้ารับประทานใบและต้นเข้าไป ทำให้เวียนศีรษะ ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ใจสั่น แขนขากระตุกและเกร็ง

ใบบัวบก มีสารประกอบสำคัญ ๆหลายชนิด อย่าง บราโมซัยด์ บรามิโนซัยด์ ไตรเตอพีนอยด์ มาดิแคสโซซัยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และยังมี กรดมาดิแคสซิค วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม และ กรดอะมิโน อย่าง แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

ใบบัวบกสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายนอก
1 ช่วยรักษาอาการตาอักเสบบวมแดง ด้วยการใช้ใบบัวบกล้างน้ำสะอาด คั้นเอาแต่น้ำนำมาหยดที่ตา 3-4 ครั้งต่อวัน
2 ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด
ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น ช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ
3 เอาบัวบกที่คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับแป้งข้าวเหนียวทำเป็นแป้งเหลว ใช้พอกบริเวณที่เป็น โรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคเรื้อน โรคสะเก็ดเงิน หิด หัด ช่วยรักษาผิวหนังเป็นด่างขาว
4 ใช้บัวบกตำนำมาพอกรักษาความร้อนบวมของโรคไฟลามทุ่ง ช่วยรักษาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง สรรพคุณใบบัวบกช่วยลดอาการอักเสบของแผลเป็นอย่างดี และใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดได้อีกด้ว
5 ใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน จากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ทั้งต้นสดของบัวบกประมาณ 3 ต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลกแล้วนำมาพอกแผลไฟไหม้
6 น้ำคั้นจากใบบัวบกนำมาทำเป็นน้ำมันบัวบกใช้ชโลมศีรษะ มีสรรพคุณช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย
7 ลบรอยตีนกาตื้น ๆ ด้วยน้ำใบบัวบก ด้วยการนำบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นจนละเอียด แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้สำลีชุบน้ำทาทั่วบริเวณหางตาหรือทั่วใบหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก โดยควรทาทุกวันก่อนนอน
8 ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ด้วยการใช้ใบบัวบกประมาณ 50 กรัม นำมาตำแล้วพอกบริเวณสะดือ เมื่อถ่ายปัสสาวะคล่องดีแล้วค่อยเอาออก

ใบบัวบกสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายใน
1 ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ด้วยการใช้บัวบกสดประมาณ 1 กำมือ นำมาตำคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง แล้วจิบกินบ่อย ๆ
2 ช่วยรักษาโรคดีซ่านจากภาวะร้อนชื้น ด้วยการใช้บัวบก 30 กรัม น้ำตาลทรายกรวด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
3 ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้ต้นสด 1 กำมือต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม หรือจะใช้บัวบกสด ๆทั้งต้นประมาณ 30 กรัมนำมาค้นเอาน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยแล้วดื่มกินประมาณ 5-7 วัน
4 ช่วยรักษาอาการเต้านมอักเสบเป็นหนองในระยะแรก ด้วยการใช้บัวบกและเปลือกของลูกหมาก 1 ผล นำมาต้มกับเหล้าดื่ม
5 ช่วยขับความร้อนชื้นทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะด้วยการใช้บัวบก 50 กรัมต้มกับน้ำชาข้าวครั้งที่ 2 แล้วนำมาดื่ม และ ช่วยรักษาอาการมีหนองออกจากปัสสาวะ
6 ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบบัวบกมาทุบให้แหลกแล้วนำมาโปะบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้ใบบัวบกประมาณ 40 กรัม ต้มกับเหล้าแดงประมาณ 250 cc. ประมาณ 1 ชั่วโมงล้วนำมาดื่ม
7 น้ำใบบัวบก เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับหน้าร้อนเป็นอย่างมาก เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็นดับร้อนในร่างกายได้สารพัด

ใบและเถาบัวบกใช้รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกกะปิคั่ว หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ลาบ ก้อย แกงเผ็ด ยำใบบัวบก ซุบหน่อไม้ เป็นต้น

ประโยชน์ของใบบัวบก
1 บัวบก เป็นพืชที่มีแคลเซียมในระดับปานกลางถึงสูง แต่มีระดับสารออกซาเลตที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในปริมาณต่ำ
2 ใบบัวบก ช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย สรรพคุณใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
3 ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
4 มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
5 ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะบัวบกมีวิตามินเอสูง
6 ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือน ใบแปะก๊วย
7 ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และทำให้มีปฏิภาณไหวพริบเพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุ เชื่อว่าใบบัวบกมีส่วนช่วยเพิ่มไอคิว ความฉลาด และความสามารถในการเรียนรู้
8 ใบบัวบก สรรพคุณช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง หรือโรคอัลไซเมอร์ หรืออาการหลงลืมระยะสั้นได้
9 ช่วยเพิ่มสมาธิ แก้สมาธิสั้น
10 ช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจเฉพาะหน้า
11 ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว
12 ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
13 ช่วยผ่อนคลายความเครียด
14 ช่วยเสริมการทำงานของ กาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยรักษาสมดุลของจิตใจ จึงช่วยผ่อนคลายและทำให้หลับง่ายขึ้น
15 ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
16 ประโยชน์ของใบบัวบกช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
17 ประโยชน์ใบบัวบก ใช้เป็นบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
18 ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
19ช่วยบำรุงหัวใจ
20 ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
21 ช่วยทำให้จิตใจสดชื่น อารมณ์แจ่มใส
22 ช่วยบำรุงเสียง
23 ช่วยแก้กระหายน้ำ
24 สรรพคุณใบบัวบก ช่วยแก้อาการร้อนใน ตัวร้อน
25 ใบบัวบกมีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง
26 ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
27 ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
28 ช่วยรักษาอาหารหืด
29 ช่วยรักษาโรคลมชัก
30 ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
31 ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับเลือด
32 ช่วยลดความดันเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้หลอดเลือด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
33 ช่วยรักษาโรคที่มีสมุฏฐานจากเสมหะ
34 ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
35 ช่วยแก้ไข้
36 ช่วยห้ามเลือดกำเดา เพราะทำให้เลือดเดินแต่เลือดจะไม่ออกจากเส้นเลือดและยังทำให้เลือดเย็นอีกด้วย
37 ช่วยแก้อาการช้ำใน บาดเจ็บจากการกระทบกระแทก
38 ช่วยทำให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
39 บัวบกสรรพคุณ ช่วยแก้อาการท้องเสีย
40 สารสกัดจากใบบัวบกมีฤทธิ์ป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี
41 ประโยชน์ของใบบัวบกช่วยแก้อาการเริ่มที่จะเป็นบิด ช่วยรักษาโรคบิด หรือมีมูกเลือดปนเมื่อขับถ่าย
42 ช่วยรักษากระเพาะอาหารเป็นแผล
43 ใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
44 ช่วยแก้อาการน้ำดีในร่างกายมากเกินไป
45 ช่วยรักษาโรคม้ามโต
46 ช่วยรักษาอาการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบ
47 แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์

วิธีทำน้ำบัวบก
1 วิธีทำน้ำบัวบกวิธีทำน้ำบัวบก ควรเลือกใช้ใบบัวบกที่แก่กว่า กินเป็นผักสด โดยใช้ทั้งรากนำมาล้างน้ำทำความสะอาด
2 ใบบัวบกจะเหนียวให้ตัดเป็น 2-3 ท่อน ก่อนนำมาบด
3 คั้นน้ำแรกโดยผสมน้ำกับใบบักบกที่บด แล้วนำกากที่เหลือมาคั้นน้ำที่สองเพื่อให้ได้ตัวยาสมุนไพรที่ยังเหลืออยู่ (ควรใช้น้ำสะอาด และห้ามใช้น้ำร้อน หรือนำน้ำที่ค้นได้ไปต้ม)
4 กรองน้ำบัวบกด้วยผ้าขาวบางห่าง ๆ (แบบผ้ามุ้ง ถี่มากจะกรองไม่ได้)
5 หลังกรองจะมีกากให้ทิ้งไป ให้รินเฉพาะน้ำส่วนใส ๆมาดื่ม
6 น้ำบัวบกต้องคั้นใหม่ ๆ จากใบสด ๆ และไม่ควรเก็บน้ำที่คั้นได้ไว้นาน หรือควรแช่เย็นเก็บไว้
7 น้ำเชื่อมถ้าทำมาจากน้ำต้มใบเตย จะทำให้น้ำบัวบกอร่อยมากขึ้น

คำเตือนและคำแนะนำ
- สรรพคุณของใบบัวบกการรับประทานใบบัวบกคุณควรพิจารณาพื้นฐานของร่างกาย อย่ามองแต่สรรพคุณเพียงอย่างเดียว
- บัวบกไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะเย็นพร่อง หรือขี้หนาว ท้องอืดบ่อย ๆ
- การรับประทานบัวบกในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ธาตุในร่างกายเสียสมดุลได้ เพราะเป็นยาเย็นจัด แต่ถ้ารับประทานในขนาดที่พอดีแล้วจะไม่มีโทษต่อร่างกายและได้ ประโยชน์สูงสุด
- การดื่มน้ำบัวบกติดต่อกันทุกวันให้ดื่มแค่วันละประมาณ 50 มิลลิลิตร
- การกินเพื่อเป็นยาบำรุง ต้องกินตามขนาดที่ระบุไว้ ถ้ากินใบบัวบกสด ๆ ในปริมาณน้อย เช่น วันละ 2-3 ใบทุกวัน ก็ไม่เป็นอะไร หรือจะกินน้ำคั้นบัวบกแก้ช้ำในหรือร้อนใน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ก็ได้
- ถ้ากินเป็นผัก จิ้มครั้งละ 10-20 ใบ ต่อสัปดาห์ไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้ากินติดต่อกัน 10 วันอาจจะเป็นพิษกับร่างกายได้
- การเก็บใบบักบกอย่าเก็บมาเฉพาะใบ เพราะจะทำให้ได้ตัวยาสมุนไพรมาไม่ครบ ให้ถอนมาทั้งต้นและราก เพราะในส่วนของรากจะมีตัวยาสมุนไพรอยู่ด้วย
- ไม่ควรนำใบบักบกไปตากแดด เพื่อทำให้แห้ง เพราะจะทำให้สูญเสียตัวยาสมุนไพรซึ่งอยู่ในน้ำมันหอมระเหยได้ โดยให้ผึ่งลมตากไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อแห้งแล้ว ให้นำมาใส่ขวดปิดฝาให้สนิทป้องกันความชื้น

สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์สมานแผลและลดการอักเสบ

สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์สมานแผลและลดการอักเสบ

ผักแว่น
ใบบัวบก
ว่านหางจระเข้

เทอร์พีนอยด์ (Terpenoid)

เทอร์ปีนอยส์ (terpenoid) เป็นสารในกลุ่มสารอินทรีย์ที่พบมากในพืชชั้นสูงและพบได้ในส่วนที่หลากหลายของพืช ตั้งแต่เมล็ด ลำต้น ดอก หรือใบ และพบในพืชชั้นต่ำบางชนิดเช่น รา มอส สาหร่าย เป็นต้น แม้แต่ในสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลก็ยังมีการค้นพบสารในกลุ่มนี้เช่นกัน เทอร์ปีนอยส์เกิดจากการเชื่อมต่อกันของไอโซปรีนตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปทำให้เกิดความหลากหลายของเทอร์ปีนอยส์จนกระทั่ง L.Ruzicka ได้ตั้งกฎการเกิดสารจำพวกเทอร์ปีนอยส์ชื่อว่า "Biogenic Isoprene Rule"

เทอร์ปีนอยส์เป็นสารที่มีชีวสังเคราะห์ผ่านวิธีอะซิเตต - กรดเมวาโลเนต และยังมีสารอีกกลุ่มที่มิได้ผ่านวิถีดังกล่าวซึ่งเรียกสารกลุ่มนี้ว่า "เมโรเทอร์ปีนอยส์" (Meroterpenoids) เช่น วิตามินเคและวิตามินอี เทอร์ปีนอยส์เป็นสารที่ประกอบด้วยส่วนของไฮโดรคาร์บอนในรูปสารประกอบออกซิไดซ์ มีการแบ่งประเภทของเทอร์ปีนอยส์ออกเป็นหลายประเภทตามจำนวนการเชื่อมต่อของไอโซปรีน เช่น มอโนเทอร์ปีนอยส์, ไดเทอร์ปีนอยส์, ไตรเทอร์ปีนอยส์ และ เตตระเทอร์ปีนอยส์

สารในกลุ่ม ไตรเทอร์ปีนอยส์ มีฤทธิ์สมานแผลและลดการอักเสบ ได้แก่ Asiatic acid,Madecassic acid,Asiaticoside,Madecassoside

ผักแว่น

ผักแว่น




ผักแว่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Marsilea crenata) เป็นเฟินน้ำชนิดหนึ่ง มีอายุหลายปี พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดอยู่ในวงศ์ Marsileaceae สกุล Marsilea มีลักษณะเป็นเหง้าเถาเลื้อยไปตามผิวดินหรือผิวน้ำหรือโคลนเลน พบเห็นได้ทั่วไปตามริมน้ำหรือพื้นดินที่มีน้ำขังแฉะ สามารถนำมากินเป็นผักสด มีคุณค่าทางอาหาร และยังมีสรรพคุณทางยา

ผักแว่นสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายนอก สามารถรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
วิธีการ ให้ใช้ใบสดจำนวน 1 กำมือ นำมาล้างให้สะอาดแล้วจึงตำละเอียดแล้วจึงคั้นเอาน้ำทาบริเวณแผล สารที่ออกฤทธิ์ คือ กรด Madecassic,Asiatic acid และ Asiaticoside acid ซึ่งช่วยในการสมานแผลเป็นอย่างดีโดยการเร่งการสร้างเนื้อเยื่อที่เสียหาย และระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ

ผักแว่นสามารถนำมาปรุงเป็นยาใช้ภายใน ใช้ผักแว่นโดยน้ำต้มจากใบสด น้ำที่ต้มจากผักแว่นจะมีรสจืดเย็นฝาดหวานเล็กน้อย สามารถสมานแผลในปากและลำคอได้ หรือจะดื่มเพื่อระงับอาการร้อนในกระหายน้ำ และเป็นยาขับปัสสาวะ หรือแก้ท้องเสียได้